เพชรบุรีแดนใจ: สำรวจนิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำเพชรบุรี
แผนกพิทักษ์มรดกสยาม สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาสัญจร ณ จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเรียนรู้ระบบนิเวศของเมืองเพชร จากร่องรอยของศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ อันหล่อหลอมขึ้นมาจากความเหมาะสมทางธรณีวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านมุมมองของนักพฤกษศาสตร์
ชื่อเมืองเพชรบุรีในแผนที่และเอกสารโบราณของตะวันตกมีความแตกต่างออกไป เช่น พิเพลี Pipeli (de Choisy, 1685; de la Loubere, 1688), พิพรี Pypry (van Vliet, 1633-42), และ พิพลี Piply (Geraise, 1688) เมืองเพชรบุรีนั้นตั้งอยู่บนสันดอนทรายโบราณ ในบริเวณที่เป็นจุดเริ่มต้นของสันดอนทรายชายฝั่งขนาดใหญ่ ที่ทอดตัวยาวไปตามคาบสมุทรไทยมาเลย์จนสุด ซึ่งสันดอนทรายนี้อยู่ถัดจากเขตดินดอนปากแม่น้ำขนาดใหญ่ของระบบแม่น้ำเจ้าพระยา อันประกอบด้วยแม่น้ำหลายสายที่มาออกทะเลในเขตดินดอนสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ของระบบแม่น้ำเจ้าพระยา
เมืองเพชรบุรีแต่โบราณก่อร่างสร้างตัวขึ้นบนภูมิประเทศอันเหมาะสมที่เป็นสันดอนทรายเขตร้อนชื้น สามารถเก็บกักน้ำเอาไว้ทั้งจากน้ำฝน และน้ำผิวดินที่ไหลมาจากที่สูงคือเทือกเขาตะนาวศรี และระบายออกมาสู่ที่ราบระหว่างสันทรายโบราณในฤดูน้ำหลาก เมื่อสันทรายอิ่มน้ำเต็มที่แล้ว ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและทำเกษตรกรรม อีกทั้งแม่น้ำเพชรบุรีที่ไหลจากเทือกเขาตะนาวศรีนั้น ไม่ไหลผ่านที่ราบลุ่มดังเช่นแม่น้ำทั่วไป แต่ไหลมารวมกับน้ำพุจากสันทรายที่ผ่านการกรองตามธรรมชาติเกิดเป็นทางน้ำ ซึ่งทางน้ำในสันทรายนี้ตามปกติจะไหลขึ้นเหนือไปตามทิศของกระแสน้ำชายฝั่งโบราณที่พาเอาตะกอนทรายไหลขึ้นทางเหนือตามทิศทางคลื่นลม แม่น้ำเพชรบุรีจึงมีความพิเศษที่ไหลขึ้นเหนือตามทิศทางกระแสน้ำชายฝั่งโบราณ ไม่มีตะกอน ทั้งใสและสะอาดบริสุทธิ์ สังคมพืชชายน้ำของแม่น้ำมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ท่านจะได้สำรวจความพิเศษของแม่น้ำเพชรบุรีด้วยสายตาของท่านเอง พร้อมกับทัศนาความงดงามทางธรรมชาติที่สะท้อนอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดโบราณที่ถูกคัดสรรมาแล้ว
ชายฝั่งทะเลของเพชรบุรียังเป็นจุดเริ่มต้นของสันดอนทรายเขตร้อนที่มีความสำคัญมาก ด้วยกระแสลมที่พัดตรงมาจากทะเลจีนใต้นั้น มีคาบสมุทรอินโดจีนที่ขนาบอยู่อีกด้านของอ่าวไทย คอยช่วยบังกระแสลมดังกล่าว ทำให้ไอเกลือจากทะเลไม่แรงเท่ากับบริเวณที่อยู่ตรงกับแนวปะทะของกระแสลม ป่าชายหาดของเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์จึงมีลักษณะพิเศษ พืชที่ทนไอเกลือได้น้อยก็ยังสามารถอยู่ใกล้ชายฝั่งได้ แต่น่าเสียดายที่ป่าเหล่านี้ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก จากการใช้ประโยชน์ที่ดินชายหาดเพื่อการท่องเที่ยว และหน่วยราชการต่างๆ โชคดีที่เราอาจจะยังพบเห็นป่าลักษณะเช่นนี้ในเพชรบุรี รวมทั้งชายหาดของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ไปจนถึงตำบลบางเบิดอันเป็นจุดสิ้นสุดของแนวกันลมจากปลายแหลมญวนของคาบสมุทนอินโดจีนทางตะวันออกของอ่าวไทยได้บ้าง ซึ่งในบริเวณของพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเป็นจุดสำคัญอีกแห่งหนึ่งที่พันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้อย่างดี ตั้งแต่ตอนที่สถาปนาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน แต่ส่วนใหญ่ถูกทำลายไปจากการใช้พื้นที่ของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เข้ามาใช้พื้นที่ในภายหลัง หลังจากรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนาพระราชนิเวศน์ฯ
การศึกษาสัญจรครั้งนี้แผนกพิทักษ์มรดกสยาม ร่วมมือกับกลุ่มลูกหว้า ซึ่งเป็นกลุ่มภาคประชาสังคมที่ทำงานวัฒนธรรมอย่างแข็งขัน ในการจัดกิจกรรมวันแรกในตัวเมืองเพชรบุรี ท่านจะได้สำรวจวัดและชุมชนในตัวเมือง ฟังเรื่องราวความทรงจำของคนในชุมชนเกี่ยวกับนิเวศวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม การรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้จะนำไปสู่การเสริมสร้างความเข้าใจในอัตลักษ์เฉพาะของระบบนิเวศที่ส่งผลต่อการวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของจังหวัดเพชรบุรีจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ในวันที่สอง ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ท่านจะได้เห็นตัวอย่างของการฟื้นฟูระบบนิเวศดั้งเดิมที่ถูกทำลายไปแล้ว ผ่านมุมมองทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และนิเวศวิทยา ในพื้นที่ชายฝั่งของเพชรบุรีที่มีอยู่ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจกรรมศึกษาสัญจรในครั้งนี้จะไม่ใช่แค่การเดินทาง แต่เป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและการอนุรักษ์ระบบนิเวศอันมีผลเป็นอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมของเพชรบุรี
Programme (English): https://bit.ly/3zjMguB
(The trip will be conducted in Thai)
When
Leader
ดร. กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ
นักพฤกษศาสตร์
และ คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย
ผู้อำนวยการ มูลนิธิสำนักงานพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และสมาชิกสยามสมาคมฯ
Booking
กำหนดการเดินทางดังนี้:
วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567: กรุงเทพ – เพชรบุรี | |
– | พบกับคณะเดินทาง ที่สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 131 ซอยสุขุมวิท 21 ถนนอโศกมนตรี กรุงเทพมหานคร |
8:00 | ออกเดินทางจากสยามสมาคมฯ สู่จังหวัดเพชรบุรี โดยรถบัส |
เช้า | พบกับกลุ่มลูกหว้า ผู้ซึ่งขับเคลื่อนงานอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ชมมรดกวัฒนธรรม พันธุ์ไม้ในภาพจิตรกรรม และพันธุ์ไม้ท้องถิ่นในบริเวณวัดใหญ่สุวรรณาราม |
เที่ยง | รับประทานอาหารกลางวัน ที่ร้านอาหาร |
บ่าย | ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเกาะ สำรวจพันธุ์ไม้ในภาพจิตรกรรมที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติของเมืองเพชร จากนั้นแวะชมโครงการพัฒนาริมน้ำ เดินสำรวจชุมชนรอบวัดเกาะ |
– | เปิดวงเสวนา หัวข้อ “นิเวศวัฒนธรรมลุ่มน้ำเพชรบุรี (ที่อาจไม่หวนกลับ)” โดย – ดร. กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ, นักพฤกษศาสตร์- อาจารย์จำลอง บัวสุวรรณ์, ผู้ก่อตั้งกลุ่มลูกหว้า- คุณนิรันดร์ นิรันดร์นุต, ผู้จัดการโครงการ The Biodiversity Finance Initiative (BIOFIN), UNDP ประเทศไทย – อาจารย์วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร, ศิลปิน และเจ้าของแนวคิด นิเวศน์สุนทรี |
– | กินลมชมตลาด ณ ถนนมีชีวิตพานิชเจริญ |
– | ออกเดินทางไปยังอำเภอชะอำ |
ค่ำ | รับประทานอาหารเย็น ที่ร้านอาหาร |
– | เช็คอินที่โรงแรม Avani+ Hua Hin Resort และพักผ่อนตามอัธยาศัย |
วันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567: เพชรบุรี – กรุงเทพ | |
– | รับประทานอาหารเช้า ณ โรงแรมที่พัก |
เช้า | ออกเดินทางจากโรงแรมไปยังพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน |
– | ชมงานอนุรักษ์พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน พร้อมชมการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในอาณาเขตโดยรอบ
นำโดย คุณเกล้ามาศ ยิบอินซอย ผู้อำนวยการ สำนักงานมูลนิธิพระราชนิเศน์มฤคทายวัน |
เที่ยง | รับประทานอาหารกลางวัน รังสรรค์จากกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บ่าย | เดินทางกลับกรุงเทพฯ ผ่านทางเส้นทางบ้านแหลม – เขายี่สาร เพื่อชมภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเมืองเพชร |
17:00 | เดินทางถึงสยามสมาคมฯ |
สยามสมาคมฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงรายการตามความเหมาะสม |
ค่าใช้จ่ายสนับสนุนกิจกรรม 14,000 บาท สำหรับสมาชิกสยามสมาคมฯ (15,500 บาท สำหรับผู้เข้าร่วมทั่วไป) และค่าห้องพักเดี่ยว 1,600 บาท ค่าใช้จ่ายนี้รวมค่ายานพาหนะต่างๆ ตลอดการเดินทาง ค่าอาหาร 3 มื้อ ค่าโรงแรม บัตรเข้าชมสถานที่ ค่าวิทยากร ค่าบำรุงสถานที่ ประกันการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อให้การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นไปได้อย่างราบรื่น การสำรองที่นั่งของท่านจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อท่านชำระเงินแล้ว สำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม 4% เพื่อครอบคลุมค่าธรรมเนียมของธนาคาร กรุณาชำระเงินด้วยเงินสดหรือเช็คสั่งจ่าย “สยามสมาคม” หรือโอนเงินได้ที่บัญชีของสยามสมาคมฯ ธนาคาร TMBThanachart (ttb) หมายเลขบัญชีออมทรัพย์ 053-2-18000-7 ทั้งนี้ท่านสามารถสแกน QR โค้ดด้านล่างเพื่อชำระเงิน หากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรุณาส่งสลิปการโอนเงินทางอีเมลที่แจ้งทางด้านล่างนี้
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือสำรองที่นั่ง โปรดติดต่อคุณธันย์ อิทธิสกุลพันธ์ ที่หมายเลข 02-661-6470-3 ต่อ 205 หรืออีเมล studytrips@thesiamsociety.org สมาคมฯ เปิดทำการตั้งแต่เวลา 09:00 ถึง 17:00 น. ในวันอังคาร-วันเสาร์
หมายเหตุ: สยามสมาคมฯ อาจใช้ภาพที่บันทึกระหว่างการจัดกิจกรรมนี้ ซึ่งอาจมีภาพของผู้เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ด้วย เพื่อการประชาสัมพันธ์และงานสื่อสารองค์กร ผ่านทางเว็บไซต์ของสมาคมและช่องทางโซเชียลมีเดียออนไลน์อื่นๆ
More upcoming study trips
-
Discover Sindh and the Ancient Civilisation of the Indus Valley, PakistanStudy TripsSaturday 18 to Monday, 27 January 2025
-
Exploring the Most Exquisite Rock-Cut Caves in Maharashtra, IndiaStudy TripsTuesday 10 to Monday, 16 December 2024
-
Thailand’s Diverse Heritage: A Melting Pot CultureStudy TripsSaturday, 9 to Thursday, 14 November 2024
-
From Ancient Salt Well to Diversity of Ethnic Lifestyle, Art and Culture of Hmong, Lua and Thai Lue in the Picturesque Scenery of Nan ProvinceStudy TripsFriday, 18 to Sunday, 20 October 2024
-
Exploring the Mediterranean Gems: Discover the Charms of Sardinia and CorsicaStudy TripsWednesday, 9 to Monday, 21 October 2024
-
-