Alert Info
Archaeological Site Bangkok Climate change and severe weather events Management and institutional factors
Address
, Rat Burana, Rat Burana, Bangkok, 10140
Coordinates
Latitude : 13.678323
Longitude : 100.519476
General environment and accessibility
วัดแจงร้อนตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถัดจากคลองแจงร้อน สามารถเข้าถึงได้ทางถนนราษฎร์บูรณะ ซอย 37 วัดตั้งอยู่สุดซอย เมื่อเข้าถึงบริเวณวัด พระวิหารซึ่งบรรจุหมู่พระพุทธรูปโบราณจะตั้งอยู่ทางซ้ายมือ เป็นอาคารหลังแรก
Historical and local significance
ในหนังสือสวดมนต์ของวัดแจงร้อน มีบันทึกเรื่องสันนิษฐานเกี่ยวกับวัดไว้ว่า
"วัดแจงร้อนเป็นวัดราษฎร์และเป็นวัดโบราณจึงไม่มีเรื่องราวหรือหลักฐานใดพอที่จะมาค้นคว้าเพื่อทราบได้ว่าสร้างขึ้นมาแต่ครั้งใด ผู้สูงอายุบางท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า เพื่อ พ.ศ. 2461 พระครูประสิทธิ์สิกขการ (หลวงพ่อจวน) จะสร้างพระอุโบสถใหม่ขึ้นแทนพระอุโบสถหลังเดิมซึ่งมีขนาดเล็ก ทึบ และตั้งอยู่ในที่ลุ่มชื้น จึงได้ทำการรื้อพระอุโบสถหลังเดิมออก พร้อมทั้งขุดเอาตอหม้อของพระอุโบสถหลังเดิมที่ก่อด้วยปูนขึ้น ก็ได้พบว่า นอกจากตอหม้อปูนที่ขุดขึ้นมาแล้ว ยังพบตอหม้อเก่าซึ่งทำด้วยไม้ซ้อนกันเป็นชั้นอีก 2-3 ชั้น แสดงว่ามีการสร้างพระอุโบสถซ้อนกันที่เดิมนั้นมาหลายครั้ง คือสร้างไปแล้วรื้อไปแล้วก็สร้างใหม่อีกโดยไม่ถอนตอหม้อเดิมออก ดังนั้นพระอุโบสถของวัดแจงร้อน ปัจจุบัน อาจจะเป็นพระอุโบสถหลังที่ 4 หรือ 5 ที่ได้ปลูกสร้างขึ้นมาบนที่เดียวกันนั้น"
Previous research studies
อาจารย์ น. ณ ปากน้ำ ได้เขียนไว้ในหนังสือ ศิลปกรรมในบางกอกว่า
"พระวิหารวัดนี้ใหญ่โตเป็นของเก่าโบราณมาก ก่อผังหนาประมาณ 1 เมตรโดยตลอด ผนังด้านข้างตันทั้งสองด้าน ผนังด้านหลังมีประตูสองประตู แต่ผนังด้านหน้ามีสามประตู นับว่าเป็นศิลปวัตถุสำคัญที่เก่าแก่ที่สุดในธนบุรี ลวดลายบนฐานชุกชี และบนขอบประตูเป็นศิลปสมัยพระนารายณ์ คือมีลายฝรั่งผสมไทย และว่าในสมัยพระนารายณ์ ได้มาทำการปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้น และคงทำการปั้นลวดลายประดับทั้งด้านหน้าและด้านหลังโดยตลอด
พระพุทธรูปในพระวิหารองค์หลังสุดใหญ่มาก เป็นพระทรงเครื่องสวมชฎาเทริด ใบหน้าแบบลพบุรีผสมอู่ทอง องค์กลางเป็นพระางสมาธิ ทำด้วยศิลาทรายสีแดง เช่นเดียวกับองค์หลัง ขนาดใหญ่มาก พระศกเม็ดละเอียด เป็ยแบบศิลปลพบุรีผสมอู่ทอง เป็นพระลพบุรีรุ่นหลังด้วยมีพระพักตร์รูปไข่แบบสุโขทัยแล้ว
พระใหญ่ทำด้วยศิลาทรายสีแดง สองข้างพระองค์กลางเป็นพระทรงเครื่องสวมชฎาเทริด เป็นพระเก่าแก่มาก องค์ในสุดเป็นพระใหญ่หันหน้าออกด้านข้าง เฉพาะด้านขวามือพระประธาน ปั้นทรวดทรงและใบหน้าคล้ายพระอินเดียชวนพิศวงมาก..."
"เดิมพระวิหารแห่งนี้ทรุดโทรมหนัก เสาไม้ข้างในผุและขาดตรงคอเสา ผู้ทำการปฏิสังขรณ์ต้องตัดเสาทิ้ง ผนังพระวิหารพังทลายบางด้าน และต้นโพธิ์ก็หยั่งรากเข้ามาในพระวิหาร จนต้องฟังทิ้งเป็นท่อนใหญ่โตแล้วจึงปรับพื้นปฏิสังขรณ์เสียสมบูรณ์ดี ดังที่เห็นอยู่ขณะนี้ (พ.ศ.2514) ท่านพระภิกษุผู้ทำการท่านปฏิสังขรณ์มิได้ซ่อมแซมต่อเติมของโบราณแต่ประการใด จึงเป็นประโยชน์ในการศึกษาเรื่องศิลปและโบราณคดีอย่างยิ่ง น่าสรรเสริญท่านมากในข้อนี้ ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับวัดทั่วๆไปจะนำไปปฏิบัติตาม จักเป็นผลดีแก่วัดเอง ซึ่งยังเหลือศิลปเก่าแก่ไว้ให้คนรุ่นหลังศึกษา...."
Threats type
Climate change and severe weather events, Management and institutional factors
Threats details
ปัจจุบันหมู่พระพุทธรูปทั้ง 28 องค์บนฐานชุกชีในพระวิหาร อยู่ในสภาพเสี่ยงที่จะเสื่อมสลายทั้งหมด บางองค์มีรอยแตกร้าว ทองเปิดออกและหลุดลอก บางองค์ชิ้นส่วนแตกหักหลุดออกเป็นชิ้นๆ พระพุทธรูปที่ทำจากหินทรายสีแดงหลายองค์มีสภาพเปื่อยยุ่ยเป็นผุยผง ฐานชุกชีบางส่วนมีรอยผุเป็นโพรง
ผู้เชี่ยวชาญให้คำอธิบายว่าในการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุด ราว 40-50 ปี ที่ผ่านมา มีการใช้ปูนซีเมนต์พอกผิวรอบนอกของฐานชุกชี รวมทั้งใช้ปูนผิดประเภทในการปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธรูป เป็นเหตุให้ความชื้นไม่สามารถระบายออกไปได้ นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทำให้น้ำเค็มแพร่กระจายเข้ามาในแหล่งน้ำจืด สามารถซึมเข้าไปในโครงสร้างของอาคาร และทำให้เกิดการผุกร่อนหรือผังทลายเร็วขึ้น
Owner
วัดแจงร้อน
Responsible or associated agencies
วัดแจงร้อน
กรมศิลปากร