สื่อมัลติมีเดีย
เหตุใดการฟื้นฟูมรดกอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกชาวอังกฤษและจีนในภาคใต้ของประเทศไทยจึงมีความสำคัญ
โดย รังสิมา กุลพัฒน์
เผยแพร่เมื่อ 7 พฤษภาคม 2024
มรดกอุตสาหกรรม
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 จนถึงทศวรรษ 1980 ทรัพยากรดีบุกที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันกลายเป็นแหล่งพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญของสยาม การผลิตดีบุกประมาณ 899,244 ตัน มูลค่า 31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสี่ประเทศผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของโลกในช่วงท ค.ศ. 1961-1994 แม้ว่าอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกในภาคใต้ของประเทศไทย จะหยุดดำเนินการมาประมาณ 30 ปีมาแล้ว แต่ร่องรอยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยังคงหลงเหลืออยู่ ทั้งในรูปธรรมเช่น อาคารและปากปล่องเหมือง และในลักษณะนามธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนงาน อาหาร และที่พัก ร่องรอยเหล่านี้เชื่อมโยงกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กีฬา ศิลปะ และหัตถกรรมท้องถิ่น ซึ่งลักษณะเฉพาะนี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของผู้คนกับเหมืองแร่เก่า ในพื้นที่ที่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ พ่อค้าชาวสยามขายสินค้า คนอินเดียทำงานเป็นยามหรือพ่อค้าเร่ แม้ว่าธุรกิจส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การนำของชาวตะวันตก แต่คนงานก็เป็นคนสยามและชาวจีน ดีบุกซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญดึงดูดการลงทุนและอำนาจจากต่างประเทศ โดยมีเจ้าของเหมืองส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกหรือชาวจีน ประชากรส่วนใหญ่ในบริเวณชายฝั่งอันดามันเป็นชาวจีนที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่มาหลายศตวรรษแล้ว
ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกในภาคใต้ของประเทศไทยนับเป็นตัวอย่างที่โดดเด่นในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยการนำเอาสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นทรัพยากรทางเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยว นอกจากนี้ สามารถเป็นแนวทางการศึกษาวิจัยการตั้งถิ่นฐาน เพื่อช่วยในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของพื้นที่ทรัพยากรสำคัญนี้