สื่อมัลติมีเดีย
นิเวศวิทยาการเมืองข้ามพรมแดนว่าด้วยวิกฤตมลพิษทางอากาศในประเทศไทย
โดย Danny Marks
เผยแพร่เมื่อ 7 พฤษภาคม 2024
นิเวศวิทยา
มลพิษทางอากาศในประเทศไทยนับว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงที่สุดในโลก โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ พื้นที่อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศที่ไหลข้ามพรมแดนภายในประเทศไทยเอง รวมถึงมลพิษทางอากาศที่ข้ามพรมแดนประเทศ นำไปสู่ปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรงขึ้น ความเสียหายเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ และคุกคามต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ ในการพิจารณาด้วยกรอบแนวคิดนิเวศวิทยาการเมืองข้ามพรมแดน ผู้นำเสนอศึกษาปัจจัยก่อมลพิษทางอากาศจากสามแหล่งที่มาในประเทศไทย ได้แก่ ก๊าซไอเสียจากยานพาหนะ ก๊าซจากภาคเกษตรกรรม และก๊าซจากภาคอุตสาหกรรม นิเวศวิทยาการเมืองข้ามพรมแดนชี้ให้เห็นบทบาทของพรมแดนในนิเวศวิทยาการเมืองของพื้นที่ ที่กลายเป็นอุปสรรคในความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมและโอกาสในการบริหารจัดการข้ามพรมแดนร่วมกัน การวิเคราะห์นี้ไม่เพียงมุ่งเน้นปัจจัยที่ก่อมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนภายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังขยายไปสู่การศึกษาผลกระทบของมลพิษและการตอบสนองจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ได้แก่ กัมพูชา เมียนมาร์ และลาว ผู้นำเสนอชี้ให้เห็นว่าการกระจายอำนาจที่ไม่สมบูรณ์ การแบ่งแยกทางการบริหาร การให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มาจากการลงทุนในประเทศไทยสร้างอุปสรรคสำคัญในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนให้ดีขึ้น ผู้นำเสนอชี้ว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายใหม่เพื่อแก้ไขอุปสรรคและจัดการกับปัญหาเหล่านี้ เพื่อปกป้องพลเมืองที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีสภาพเปราะบางและได้รับผลกระทบร้ายแรงจากมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนมากกว่าคนอื่น ๆ