สื่อมัลติมีเดีย

การ์ตูนไทยและการสร้างชาติ: กรณีศึกษาตัวละครนักพรตหรือฤาษีในภาพลักษณ์ดั้งเดิม (และการปรับปรน) ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา

โดย Nicolas Verstappen

เผยแพร่เมื่อ 7 พฤษภาคม 2024

ภาษาและวรรณกรรม, การเมือง การปกครอง

หลังจากที่มีการพิมพ์การ์ตูนชุดแรกของสยาม ค.ศ.1907 การ์ตูนท้องถิ่นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในแบบไทย ๆ ในช่วงทศวรรษ 1930 มีตัวละครสองตัวที่มีความโดดเด่นในการ์ตูนที่ดัดแปลงจากนิทานพื้นบ้านคลาสสิก นั่นคือตัวตลกและนักพรต

นักพรต (หรือฤาษี) ที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างผู้สันโดษ เป็นผู้พิทักษ์ภูมิปัญญาบรรพชนและเชี่ยวชาญในเวทมนตร์และศิลปะการต่อสู้ ตัวละคนมักสวมชุดคลุมหนังเสือที่สำแดงอานุภาพของราชาสัตว์ป่าอย่างเสือ ตัวละครฤาษีเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เชื้อพระวงศ์ที่มาขอรับการอบรม เพื่อให้เป็นผู้ปกครองที่ชอบธรรมและนักรบที่ยอดเยี่ยมสมบูรณ์แบบ ในฐานะผู้พิทักษ์ขนบประเพณี ฤาษีมักแสดงความรู้ตามธรรมเนียมปฏิบัติและศีลธรรม ซึ่งกลายเป็นเนื้อหาที่ได้รับการปลูกฝังทางสังคมด้วยการ์ตูนที่พิมพ์เผยแพร่สำหรับเยาวชนในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวัฒนธรรมอเมริกันและการ์ตูนซูเปอร์ฮีโร่กลายเป็นที่นิยมในประเทศไทย นิยายภาพแบบฉบับท้องถิ่นยังคงโครงเรื่องจากนิทานพื้นบ้าน แต่ตัวละครเอกแต่งกายด้วยชุดซูเปอร์ฮีโร่แบบรัดลำตัว อย่างไรก็ตาม ตัวนักพรตนั้นไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง และยังคงบทบาทในการมอบพลังและคำสอนทางจริยธรรมให้แก่ซูเปอร์ฮีโร่ไทยเหล่านั้น ในช่วงทศวรรษ 1970 ตัวละครนักพรตถูกท้าทายจากนักวาดการ์ตูนรุ่นใหม่ แต่ก็เพียงชั่วคราว หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน ค.ศ.1997 ตัวละครนักพรต (ฤาษี) กลับมาอีกครั้งในสไตล์มังงะแบบญี่ปุ่น เพื่อเป็นตัวแทนที่แสดงถึงความมั่นคงในภาวะวิกฤตเอกลักษณ์ชาติ

แม้มีจินตนาการใหม่ ๆ ในการแสดงภาพของนักพรตโดยการยืมรูปแบบจากการ์ตูนต่างชาติในหลายทศวรรษที่ผ่านไป แต่ตัวละครนักพรตในฐานะสัญลักษณ์ของประเพณีดั้งเดิมและกายาของความเป็นชาติ ได้รับการธำรงไว้และฉายภาพของตนในชุดหนังเสือ อันทรงพลังและดำรงอยู่แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์