องค์กร/หน่วยงาน

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
หน่วยงานของรัฐ
วิสัยทัศน์ :
1. มุ่งมั่นสู่ความเป็นผู้นำองค์กรวิชาชีพจดหมายเหตุที่มีการบริหารจัดการด้านการอนุรักษ์และการให้บริการที่มีมาตรฐาน
2. เป็นองค์กรหลักในการบริหารเอกสารสำคัญของชาติให้ได้รับการจัดเก็บอย่างครบถ้วนยั่งยืน และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต
พันธกิจ :
1. อนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรม
2. พัฒนางานจดหมายเหตุทุกกระบวนงานให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
3. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศเอกสารจดหมายเหตุ
4. เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารชั้นต้นที่มีคุณค่าถาวร เพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง
5. พัฒนาระบบการบริหารเอกสารและจัดทำระบบบริหารเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานจดหมายเหตุสากล
6. ให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย บูรณาการร่วมกับเครือข่าย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
เบอร์โทรศัพท์ 0 2281 1599, 0 2282 8423
E-Mail : archives_ad@finearts.go.th, contact@nat.go.th
Website : https://www.nat.go.th/, https://www.nat.go.th/mow
Social media : https://www.facebook.com/NationalArchivesofThailand
ที่ตั้ง :
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพ 10300
ประวัติและผลงานเด่น :
โครงการสำรวจเอกสารและเผยแพร่องค์ความรู้การจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ
กรมศิลปากร ได้เล็งเห็นว่าเอกสารที่เป็นมรดกความทรงจำของชาติยังมีอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะท้องถิ่นซึ่งอยู่ในความครอบครองของบุคคล ศาสนสถาน และหน่วยงาน ที่มีการบันทึกไว้บนวัสดุ หรือสื่อรูปแบบต่าง ๆ เช่น กระดาษ ใบลาน สมุดไทย หนังสัตว์ ผ้า ไม้ แผ่นหิน ภาพถ่าย แผนที่ แบบแปลน ภาพยนตร์ แถบบันทึกภาพ แถบบันทึกเสียง ฯลฯ จึงได้มอบหมายให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดำเนินโครงการประชุมสัมมนา เรื่อง การจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่สำรวจ จัดประชุม รวบรวม และจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติเหล่านั้นไว้ เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองเอกสาร มิให้ชำรุดเสียหายหรือถูกทำลายไป และยังเป็นการเผยแพร่ให้บุคคลได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางต่อไป โดยมีการนำเสนอเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติในระดับภูมิภาคหรือในระดับนานาชาติต่อไปในอนาคต เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการดังกล่าวต่อเนื่องและหมุนเวียนไปยังจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่พ.ศ. 2552