งานวิจัยและบทความ

การท่องเที่ยวมรดกแห่งความโหดร้ายที่ “ทางรถไฟสายมรณะ”

โดย อภิญญา บัคคาลา อรุณนภาพร

เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024

ประวัติศาสตร์, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, มรดกความขัดแย้ง
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 100 (2012)

ดาวน์โหลด

Atrocity Heritage Tourism at the “Death Railway”


บทความนี้ศึกษาแหล่งท่องเที่ยวมรดกแห่งความโหดร้ายที่รู้จักกันในชื่อ “ทางรถไฟสายมรณะ” ในจังหวัดกาญจนบุรีของประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศประมาณหนึ่งล้านคนและนักท่องเที่ยวไทยสามล้านคนทุกปี

ความไม่ลงร่องลงรอยหลายลักษณะเกิดขึ้นจากสถานที่แห่งนี้ และทวีความซับซ้อนอย่างยิ่ง แม้สถานที่แห่งนี้จะตั้งอยู่ในประเทศไทย แต่ความหมายของมรดกนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งต่อประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศออสเตรเลีย เรื่องราวในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมรดกแห่งนี้กลับเป็นสิ่งที่ประเทศไทยจงใจลืม บางส่วนเพราะความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่พัฒนาขึ้นกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้กระทำความรุนแรงระหว่างสงคราม นอกจากนี้ยังมีความซับซ้อนเพิ่มเติม เมื่อนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับประวัติศาสตร์ของสถานที่ กลายเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยมิได้คาดหมาย “ทางรถไฟสายมรณะ” จึงเป็นตัวอย่างของการท่องเที่ยวมรดกที่นำพาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ แต่กลับขาดความเข้าใจในความสำคัญของสถานที่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อมรดกได้