งานวิจัยและบทความ

ระบบสัญลักษณ์ในผังเมืองของกัมพูชาจากนครธมสู่พนมเปญ

โดย Martin Stuart-Fox, Paul Reeve

เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024

ผังเมืองและการจัดการเมือง, ปรัชญาและศาสนา, ความเชื่อ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 99 (2011)

ดาวน์โหลด

Symbolism in city planning in Cambodia from Angkor to Phnom Penh


พนมเปญเคยเป็นเมืองท่าการค้าเมื่อครั้งนครธมตกเป็นของกองทัพสยาม เมื่อ ค.ศ. 1431 การเลือกใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแห่งใหม่ของราชอาณาจักรกัมพูชา คำนึงถึงลักษณะชัยภูมิและการวางผังเมืองด้วยการเสริมระบบสัญลักษณ์ในการรับรองอำนาจของกษัตริย์ สัญลักษณ์ในการวางผังเมืองยุคก่อนสมัยใหม่ของพนมเปญนั้นมาจากความเชื่อสามชุดความเชื่อด้วยกัน: จากความเชื่อเรื่องโลกและจักรวาลตามศาสนาฮินดู-พุทธศาสนาที่ปรากฏอย่างชัดเจนในการก่อสร้างนครธม จากความเชื่อเรื่องความชอบธรรมของกษัตริย์ตามพุทธศาสนาเถรวาท และจากหลักในการออกแบบศูนย์กลางอำนาจของกลุ่มคนไท ความเชื่อในชุดแรกอิงกับการเชื่อมโยงระหว่างจักรวาลเทวนิยมกับจักรวาลมนุษย์ ความเชื่อในชุดสองเน้นถึงความสำคัญของบุญ ความเชื่อในชุดที่สามมีความสัมพันธ์กับช่วงชั้นอำนาจตามคติในทิศทางของสายน้ำ ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่กลุ่มคนไทเลือกตั้งนครหลวง