งานวิจัยและบทความ

ทิศทางใหม่ของรูปแบบเมืองที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรม “นูซันตารา” นครหลวงแห่งใหม่ของอินโดนีเซีย

โดย Diana Zerlina, Sofian Sibarani

เผยแพร่เมื่อ 13 ธันวาคม 2023

การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม, ชุมชนเมือง
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 111 No. 2 (2023)

ดาวน์โหลด

New Direction in the Culturally Inspired Urban Forms of Indonesia’s New Capital City of Nusantara


แผนการโยกย้ายนครหลวงของประเทศอินโดนีเซียไปยังนูซันตารา ซึ่งตั้งอยู่ในแขวงเปอนาจาม ปาเซอร์ จังหวัดติมอร์ตะวันออก นับเป็นก้าวย่างสำคัญของประวัติศาสตร์ประเทศอินโดนีเซีย นูซันตาราได้รับการออกแบบให้ถ่ายทอดอัตลักษณ์ของอินโดนีเซีย สร้างความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และสร้างเมืองอัจฉริยะ ทันสมัย และได้มาตรฐานสากล (Smart Metropolis) เกาะกาลิมันตัน หรือที่รู้จักกันในชื่อเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร มีระบบนิเวศป่าฝนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ แผนการโยกย้ายนครหลวงไปยังเกาะกาลิมันตันก่อให้เกิดข้อถกเถียงกับการทำลายป่าในเกาะบอร์เนียว สำหรับฝ่ายที่สนับสนุนเห็นว่า สภาพแวดล้อมที่มีอยู่ของนูซันตาราคือโอกาสของอินโดนีเซียที่แสดงถึงตัวอย่างเชิงประจักษ์ในการพัฒนาเมือง ที่ผสานธรรมชาติกับเมืองให้เป็นระบบนิเวศที่เป็นหนึ่งเดียวกันโดยหยั่งรากลึกในธรรมชาติและมรดกวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย รวมทั้งใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่ช่วยสร้างเมืองแห่งอนาคต

นูซันตาราได้รับการออกแบบให้เคารพและอาศัยภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับป่าและวัฒนธรรมอินโดนีเซีย หลักความสมดุลระหว่างภูเขากับมหาสมุทรในจักรวาลวิทยาอินโดนีเซียดั้งเดิมเป็นพื้นฐานของการพัฒนาโครงสร้างเมืองใหม่แห่งนี้ เรือนใต้ถุนสูง การใช้เฉลียงในอาคารที่ตั้งในเขตร้อน และการออกแบบทางเดินที่เชื่อมหน้าอาคารสำหรับผู้ค้าเร่ เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบร่วมสมัยในโครงการ บทความจึงได้อธิบายให้เห็นยุทธศาสตร์และแนวคิดที่ใช้ในการออกแบบนครหลวงนูซันตาราแห่งนี้