งานวิจัยและบทความ
จากการเขียนประวัติศาสตร์ชาติสู่การก่อร่างสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดย Stephane Dovert
เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024
ประวัติศาสตร์, การเมือง การปกครอง
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 93 (2005)
ดาวน์โหลด
From the Composition of National Histories to the Building of a Regional South-East Asia
เพื่อให้หลุดพ้นจากอดีตในฐานะดินแดนอาณานิคมและสร้างเอกภาพของคนในชาติภายใต้กรอบหรือโครงสร้างที่เกิดขึ้นจากการปกครองของชาติตะวันตก หรือเพียงเพื่อปลุกระดมความรู้สึกรักชาติของประชาชน นักชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงได้เขียนประวัติศาสตร์ยุคก่อนอาณานิคมของตนและประวัติศาสตร์ยุคการต่อสู้เพื่อเอกราชของตนขึ้นมาใหม่ โดยสร้าง 'ยุคทอง' และ 'ต้นแบบอันรุ่งโรจน์' เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจในการปกครองดินแดนของตน ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะอาณาเขตรัฐชาติในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงดินแดนบางส่วนที่ปัจจุบันเป็นของรัฐเพื่อนบ้านด้วย อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาปัจจุบันที่มีการสร้างกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาค การเขียนประวัติศาสตร์จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการทบทวนและปรับเปลี่ยน เพื่อแทนที่แนวคิดเรื่องการครอบงำของรัฐหนึ่งเหนืออีกรัฐหนึ่ง (domination) ด้วยแนวคิดเรื่องเอกภาพ (unity) บทความนี้ใช้กรณีศึกษาของประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา เวียดนาม และไทย ในการพิจารณาว่าวาทกรรมชาตินิยมในอดีตและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามมานั้น ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการรวมกลุ่มระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยทางการเมืองในปัจจุบันอย่างไร