งานวิจัยและบทความ

การย้อนทบทวนโครงการภูเก็ต: การศึกษาทางโบราณคดีชาติพันธุ์วิทยาผ่านกาลเวลาของชุมชนที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดย Pamela Rogers, Richard A. Engelhardt
เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024
โบราณคดีชาติพันธุ์วิทยา
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 85 (1997)
ดาวน์โหลด
โครงการภูเก็ต (The Phuket Project) มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแบบจำลองที่ครอบคลุมทุกมิติของยุทธ์ศาสตร์การปรับตัวในการดำรงชีพทางทะเลของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล เพื่อทำความเข้าใจว่ากิจกรรมต่างๆ และลำดับวิวัฒนาการของกิจกรรมเหล่านั้น สามารถระบุได้อย่างไรในหลักฐานทางโบราณคดี ในบทความนี้จะมีการอธิบายถึงผลงานวิจัยก่อนหน้านี้ของโครงการ โดยเน้นไปชั้นทับถมซ้อนกันของแหล่งโบราณคดี ที่แสดงถึงระดับการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจสี่ขั้นตอน ตั้งแต่ค่ายพักชั่วคราว ชุมชนถาวร ไปจนถึงพื้นที่ที่เริ่มประสบปัญหาและพื้นที่ที่ล่มสลายไปในที่สุด ผู้เขียนได้นำเสนอและวิเคราะห์งานวิจัยใหม่ล่าสุดในแหล่งเดิมและแหล่งที่ค้นพบใหม่ในภูเก็ต โดยชี้ให้เห็นวิธีการที่ช่วยขยายความเข้าใจของเราเกี่ยวกับระดับความซับซ้อนที่แตกต่างกัน บทความนี้ปิดท้ายด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับเครือข่ายที่เชื่อมโยงแหล่งโบราณคดีเหล่านี้เข้าด้วยกัน และบทบาทของเครือข่ายในฐานะตาข่ายรองรับความปลอดภัยที่ช่วยให้ชุมชนสามารถรักษาวิถีการปรับตัวไว้ได้แม้ต้องเผชิญกับความกดดันจากการเปลี่ยนแปลง ความตึงเครียด และกาลเวลา ทั้งนี้ คุณค่าของงานวิจัยชิ้นนี้อยู่ที่โอกาสในการเพิ่มมิติด้านเวลาให้กับการศึกษาด้านโบราณคดีชาติพันธุ์วิทยา