งานวิจัยและบทความ

การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของหน้าบันศักดิ์สิทธิ์ในสถาปัตยกรรมสยามและอินเดียใต้

โดย Michael Wright

เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024

สถาปัตยกรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 84.2 (1996)

ดาวน์โหลด

Metamorphosis: The Sacred Gable in Siamese and South Indian Architecture


ตามทัศนะหรือความเชื่อโดยทั่วไปแล้ว หน้าบันพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งสร้างจากไม้และเพิ่งได้รับการบูรณะใหม่เมื่อไม่นานมานี้ และหน้าบันของวัดปรลยกาเลศวร (Pralayakalesvara Temple)  ณ เมืองเปนนากาดัม (Pennakadam) ซึ่งสร้างด้วยปูนปั้นและได้รับการบูรณะในลักษณะเดียวกัน ดูเหมือนจะไม่มีความเกี่ยวพันกันโดยตรง หรือมิอาจกล่าวได้ว่าหน้าบันหนึ่งมีต้นกำเนิดจากอีกหน้าบันหนึ่ง  อย่างไรก็ดี บทความนี้มุ่งนำเสนอข้อโต้แย้งในมุมมองที่แตกต่างออกไปว่า เมื่อได้ศึกษาพิเคราะห์รายละเอียดและสืบค้นวิวัฒนาการของหน้าบันเหล่านี้อย่างถี่ถ้วนเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว พบว่าหน้าบันทั้งสองแห่งมีรากฐานร่วมกันมาแต่สมัยอินเดียโบราณ และในเวลาต่อมา การพัฒนารูปแบบที่แตกต่างกันในดินแดนเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจชี้ให้เห็นถึงภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์เฉพาะถิ่นของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงวิธีการที่ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรับใช้องค์ความรู้ที่ได้เรียนรู้มาจากอินเดีย