งานวิจัยและบทความ
การสร้างเอกสารตัวเขียนแบบลูกผสมกลุ่มเรื่องอานิสงส์ ในหลวงพระบาง
โดย Volker Grabowsky, ศิลป์ศุภา แจ้งสว่าง
เผยแพร่เมื่อ 13 ธันวาคม 2023
จารึกและเอกสารโบราณ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 111 No. 1 (2023)
ดาวน์โหลด
ในโลกสมัยใหม่ที่การตีพิมพ์หนังสือและเทคโนโลยีดิจิทัลได้รับความนิยม แบบแผนดั้งเดิมในการสร้างเอกสารตัวเขียน ในฐานะสิ่งที่บรรจุเนื้อหาและวัตถุ ไม่เคยสูญหายไปจากประเทศลาว ไทย และบริเวณกลุ่มคนไทย แต่ในปัจจุบันเอกสารตัวเขียนได้รับการแปลงไปสู่รูปแบบดิจิทัล บทความนี้จึงสำรวจขั้นตอนการแปลงรูปแบบดังกล่าวโดยวิเคราะห์กรณีศึกษาคลังข้อความของ “เอกสารตัวเขียนแบบลูกผสม” จำนวน 24 เล่มของกลุ่มเนื้อหาอานิสงส์ (ตัวบทในพิธีและพิธีกรรมพุทธศาสนา) เอกสารตัวเขียนทั้งหมดมาจากหลวงพระบาง ซึ่งเป็นนครหลวงโบราณของลาวและศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา ที่จัดเก็บเอกสารตัวเขียนและตกทอดมาสู่ปัจจุบัน ความเป็นลูกผสมในการผลิตเอกสารตัวเขียนสะท้อนรูปแบบการเลือกใช้วัสดุสำหรับบันทึกเนื้อหา ที่ปรับเปลี่ยนจากใบลานสู่กระดาษนานาชนิด การจัดระเบียบการนำเสนอ และความผสมผสานของลายมือเขียน การเรียงพิมพ์ และการพิมพ์ ที่ปรากฏในเล่มเดียวกัน