งานวิจัยและบทความ

การบันทึกโน้ตดนตรีในประเทศไทย

โดย Pamela Myers-Moro

เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024

ประวัติศาสตร์, ดนตรี
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 78.1 (1990)

ดาวน์โหลด

Musical Notation in Thailand


บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจประวัติศาสตร์และรูปแบบของการบันทึกโน้ตดนตรีที่นักดนตรีไทยเดิมนำมาใช้ โดยให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่และนัยยะสำคัญของระบบโน้ต  ซึ่งนอกจากประเด็นนี้จะมีความน่าสนใจในตัวของมันเองแล้ว ยังเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นที่กว้างขวางยิ่งกว่านั้น เช่น การผสมผสานทางวัฒนธรรม โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของนักดนตรี ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมมุขปาฐะกับลายลักษณ์อักษร ที่สำคัญที่สุดคือคำถามที่ว่าการใช้ระบบโน้ตดนตรีสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและบริบทการเรียนรู้ดนตรีในสังคมไทยอย่างไร ข้อมูลในบทความนี้เป็นผลจากการวิจัยของผู้เขียนในกรุงเทพฯ ระหว่างปี ค.ศ. ค.ศ. 1985-1986  (พ.ศ. 2528-2529) ในช่วงท้ายของบทความ ผู้เขียนจะนำเสนอการเปรียบเทียบโดยสังเขประหว่างกรณีศึกษาของไทยกับบทวิเคราะห์ของจูดิธ เบ็คเกอร์ (Judith Becker) เกี่ยวกับระบบโน้ตในดนตรีชวา ทั้งนี้ ดนตรีไทยและชวามีความคล้ายคลึงกันในแง่ของโครงสร้างทางดนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธรรมชาติของการบรรเลงที่ยึดโยงกับกฎเกณฑ์ตายตัวตามแบบฉบับ ควบคู่ไปกับการด้นสด นอกจากนี้ ระบบการบันทึกโน้ตที่ใช้โดยทั่วไปในสังคมทั้งสองยังมีลักษณะคล้ายคลึงกันอย่างมาก ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับนัยยะสำคัญและผลกระทบของระบบโน้ตดนตรีจึงน่าจะนำไปใช้ได้กับทั้งสองกรณี  ทั้งนี้  จูดิธ เบ็คเกอร์ ได้นำเสนอข้อถกเถียงอย่างหนักแน่นว่า ระบบโน้ตดนตรีที่รับเข้ามาจากต่างวัฒนธรรมมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนสภาพของการบรรเลงดนตรีในชวา ในขณะที่ในกรณีของไทยนั้น แม้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกันในบางแง่มุม แต่ผู้เขียนเชื่อว่ามีวิธีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการบันทึกโน้ตอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งทำให้ระบบดนตรีดั้งเดิมยังคงอยู่ได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ แม้ดนตรีไทยจะผ่านการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในช่วงศตวรรษที่ 20 แต่ผู้เขียนเห็นว่าปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากกว่าการใช้ระบบการบันทึกโน้ตดนตรี