งานวิจัยและบทความ
หนังตะลุงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม : จากประวัติศาสตร์การสะสมสู่ประติมานวิทยา
โดย Alexandra Green
เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024
ประวัติศาสตร์, ศิลปะและงานฝีมือ, ประติมานวิทยา
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 106 (2018)
ดาวน์โหลด
Southeast Asian Shadow Puppets in the British Museum: From Collecting Histories to Iconography
ในสาขาวิชาเกี่ยวกับศิลปะการแสดงหนังตะลุงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ งานวิจัยส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการศึกษาในแง่มุมของการแสดงและบริบททางสังคม ในขณะที่ผลงานวิชาการที่มุ่งเน้นวิเคราะห์แง่มุมด้านประติมานวิทยาของตัวหนังตะลุงยังมีอยู่ค่อนข้างน้อย แนวโน้มของงานศึกษาเกี่ยวกับการแสดงหนังตะลุงที่ผ่านมา มักเน้นไปที่การศึกษาในแง่ของบริบททางสังคม ความเกี่ยวพันทางการเมือง ประเพณีเกี่ยวกับการแสดง และอื่นๆ ซึ่งล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจประติมานวิทยาของหนังตะลุง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการศึกษาในประเด็นเหล่านี้มากพอสมควร แต่ยังมีช่องว่างในงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับศิลปะการแสดงหนังตะลุงในแง่มุมอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงต้องการเริ่มต้นสำรวจรูปลักษณ์ของหนังตะลุงเพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ในประเด็นข้างต้น โดยพิจารณาภายใต้กรอบประวัติศาสตร์การสะสมหนังตะลุง ทั้งนี้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหนังตะลุงในพิพิธภัณฑ์บริติชมิวเซียม (British Museum) กับหนังตะลุงในคอลเลกชันอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เพื่อขยายภาพประวัติศาสตร์พัฒนาการของหนังตะลุง โดยมุ่งเน้นไปที่หนังตะลุงของไทยและมาเลเซียเป็นสำคัญ เนื่องจากหนังตะลุงของทั้งสองประเทศมีลักษณะทางประติมานวิทยาที่คล้ายคลึงกันมาตั้งแต่อย่างน้อยคริสต์ศตวรรษที่ 19 อีกทั้งยังมีการศึกษาค้นคว้าน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหนังตะลุงของชวาและบาหลี