งานวิจัยและบทความ

การค้าเครื่องปั้นดินเผาระหว่างจีนสมัยต้นราชวงศ์ชิงกับกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ช่วงปี ค.ศ. 1644-1767 (พ.ศ. 2187-2310)
โดย พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร
เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024
ประวัติศาสตร์, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, การค้า
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 105 (2017)
ดาวน์โหลด
Ceramic Trade Between Early Qing China and Late Ayutthaya, 1644–1767
เครื่องปั้นดินเผาสมัยต้นราชวงศ์ชิงที่ค้นพบในดินแดนสยามให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมและการเมืองระหว่างสยามกับจีน โดยสยามมีฐานะเป็นผู้ว่าจ้างผลิตและจัดซื้อสินค้าเหล่านี้ ในขณะที่จีนมีฐานะเป็นผู้ผลิตและส่งออก ปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อประเภทและปริมาณของสินค้าเครื่องปั้นดินเผาในการค้าระหว่างจีนกับสยาม ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านราชวงศ์ การเปิด-ปิดการค้า และความก้าวหน้าทางเทคนิคการผลิตในฝั่งจีน ส่วนในฝั่งสยามมีปัจจัยด้านรสนิยมของราชสำนัก การขยายตัวของชุมชนชาวจีนโพ้นทะเล และระดับความเจริญมั่งคั่ง