งานวิจัยและบทความ
การเชื่อมโยงกับภูมิทัศน์ที่เป็นมรดกของกรุงเทพฯ อีกครั้ง: คูคลองและเมืองสมัยใหม่
โดย มณฑิรา หรยางกูร อูนากูล
เผยแพร่เมื่อ 10 มิถุนายน 2024
ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, มรดกเมือง
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 100 (2012)
ดาวน์โหลด
Reconnecting Bangkok’s Heritage Landscape: Urban Waterways and the Modern City
ในปี ค.ศ. (พ.ศ. 2554) ประเทศไทยซึ่งคุ้นเคยกับภาวะน้ำท่วมประจำปีมาโดยตลอด ต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติครั้งร้ายแรง เมื่อมหาอุทกภัยได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน น้ำได้เข้าท่วมพื้นที่ต่างๆ ทั้งรอบนอกกรุงเทพฯ และในตัวเมืองกรุงเทพฯ เอง ซึ่งเหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอดีตที่ผู้คนอาศัยในเรือนยกพื้นสูงและสัญจรด้วยเรือ อีกทั้งยังเผยให้เห็นผลกระทบจากกระบวนการขยายตัวของเมืองในช่วงที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครที่เคยมีเอกลักษณ์โดดเด่นและมีคุณค่าเป็นที่ยกย่องในเรื่องของระบบคูคลองที่สลับซับซ้อนได้หันหลังให้กับโครงสร้างสาธารณูปโภคอันล้ำค่านี้ และน้ำได้กลับกลายเป็นภัยร้ายที่ต้องต่อสู้ บทความนี้ได้สืบค้นวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของคูคลองในกรุงเทพมหานคร และศึกษาวิเคราะห์กระบวนการเสื่อมสลายของลักษณะดั้งเดิมนี้ ซึ่งส่งผลร้ายแรงอย่างยิ่งต่อการทำหน้าที่ของเมือง จากนั้นได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับวิธีการบูรณาการคูคลองเข้ากับเมืองอีกครั้ง มิใช่เพียงในเชิงสุนทรียะของประเพณีวัฒนธรรมในอดีตเท่านั้น แต่ในฐานะอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยฟื้นฟูความยั่งยืนทั้งในมิติเชิงระบบนิเวศและมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครทั้งในปัจจุบันและอนาคต