งานวิจัยและบทความ
การจัดทำแผนที่มรดกที่มีชีวิต ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง: การระบุและการปกป้องแหล่งมรดกชาติในความหมายของท้องถิ่น
โดย Alexandra Denes
เผยแพร่เมื่อ 7 มิถุนายน 2024
แผนที่วัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 100 (2012)
ดาวน์โหลด
จากการศึกษาวิจัยภาคสนามในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่ความเข้าใจเกี่ยวกับความท้าทายทั้งในแง่แนวคิดและการปฏิบัติ อันเนื่องมาจากความเปลี่ยนแปลงในการจัดการมรดกวัฒนธรรม จากมรดกวัฒนธรรมที่เป็นกายภาพสู่มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่เป็นกายภาพ บทความนี้ไล่เรียงพัฒนาการในการผนวกแหล่งโบราณคดีพนมรุ้งไว้ในมรดกชาติของประเทศไทย ตลอดศตวรรษที่ 20 พื้นที่ทางจิตวิญญาณได้รับการเปลี่ยนแปลงจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในท้องถิ่นสำหรับการแสวงบุญและการบูชาเทพาอารักษ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งชาติของมรดกขอมในประเทศไทย ผู้เขียนพิจารณาความเป็นไปได้ในการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการและการตีความของพื้นที่ทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญในระดับชาติ