งานวิจัยและบทความ

พระพุทธรูปปางนาคปรก: ลัทธิวิญญาณนิยม ศาสนาฮินดู และพุทธศาสนาในความเชื่อของชาวสยาม — การผสมปนเปที่ไร้ความหมายหรือระบบความเชื่อที่มีชีวิต?

โดย Michael Wright

เผยแพร่เมื่อ 10 มิถุนายน 2024

ปรัชญาและศาสนา
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 80.2 (1992)

ดาวน์โหลด

The Buddha under Naga: Animism, Hinduism and Buddhism in Siamese Religion


มักมีความเข้าใจผิดว่าคนไทยตีความพุทธศาสนาคลาดเคลื่อน เพราะนำพุทธศาสนาไปผสมผสานกับองค์ประกอบจากศาสนาฮินดูและความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติและวิญญาณอย่างขาดความรู้ความเข้าใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ศาสนาแบบไทยๆ มีการผสานพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า องค์ประกอบทางพิธีกรรมและการแสดงของศาสนาฮินดู และความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ของเกษตรกรเข้าด้วยกันโดยไม่บิดเบือนหรือทำลายแก่นแท้ของแต่ละศาสนา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเข้าใจอย่างรอบด้านเกี่ยวกับการผสมผสานทางศาสนาของไทย ซึ่งเป็นระบบความเชื่อที่กำลังถูกคุกคามจากนักคิดและนักปฏิรูปรุ่นใหม่ที่หลงลืมว่าสัญลักษณ์ต่าง ๆ ทำงานอย่างไร นอกจากการนำเสนอภาพรวมของปัญหาที่ทำให้ระบบนี้ซับซ้อนขึ้นแล้ว บทความยังศึกษาลักษณะเฉพาะของแต่ละศาสนาที่มีส่วนช่วยให้ศาสนาเหล่านี้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ อันได้แก่ พญานาคในพุทธศาสนา บทบาทของพระวิษณุและพระศิวะในศาสนาฮินดู รวมถึงความคล้ายคลึงระหว่างลัทธิวิญญาณนิยมของไทยกับลัทธิศักติของอินเดีย