งานวิจัยและบทความ
ขวัญและพิธีกรรมเกี่ยวกับขวัญ
โดย พระยาอนุมานราชธน
เผยแพร่เมื่อ 31 พฤษภาคม 2024
พิธีกรรม ประเพณี และเทศกาล
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 50.2 (1962)
ดาวน์โหลด
สังคมไทยมีความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณว่าในร่างกายของมนุษย์ทุกคนมี "ขวัญ" ประจำอยู่ ขวัญเป็นสิ่งที่ไร้ตัวตน แต่การดำรงอยู่ของขวัญเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บุคคลมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข ในทางตรงกันข้าม หากขวัญหายไป อาจส่งผลให้บุคคลประสบเคราะห์กรรมต่างๆ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาที่มาของความเชื่อเรื่อง "ขวัญ" และพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน โดยเริ่มต้นด้วยการให้คำจำกัดความของ "ขวัญ" และวิเคราะห์รากศัพท์ของคำนี้ การเปรียบเทียบกับคำอื่นๆ ในภาษาไทยที่มักถูกนำมาเชื่อมโยงหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับ "ขวัญ" จะทำให้เราสามารถเข้าใจนัยยะของ "ขวัญ" ได้ดียิ่งขึ้น ขอบเขตความเข้าใจเกี่ยวกับ "ขวัญ" ยังได้รับการขยายออกไปด้วยการศึกษาเปรียบเทียบคำศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกันจากพื้นที่อื่นๆ ของโลก เช่น จีน ลาว และมาเลเซีย จากนั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ “ขวัญ” ที่ได้จากการวิเคราะห์จะถูกนำมาพิจารณาในบริบทของพิธีกรรมทำขวัญผ่านการนำเสนอรายละเอียดของขั้นตอนและวัตถุข้าวของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมนี้ บทความยังได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างของพิธีทำขวัญในราชสำนัก รวมถึงลักษณะเฉพาะของพิธีกรรมนี้ในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพิธี "ทำขวัญ" ต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมักจะประกอบขึ้นเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของเด็ก อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้มีข้อจำกัด เนื่องจากเป็นข้อมูลเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและได้มาจากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้น