งานวิจัยและบทความ
ศิลปะเกี่ยวกับการแพทย์ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม: รูปปั้นฤๅษีดัดตนท่าต่างๆ
โดย K. I. Matics
เผยแพร่เมื่อ 31 พฤษภาคม 2024
เวชกรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 65.2 (1977)
ดาวน์โหลด
บริเวณรอบนอกของโบสถ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีเขามอ 2 แห่งตกแต่งด้วยกอไผ่และรูปปั้นดาบส ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า "ฤาษี" หรือ "อสิทธะ" รูปปั้นฤๅษีเหล่านี้แสดงอิริยาบถโยคะที่แตกต่างกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ องค์ประกอบเหล่านี้เชื่อมโยงกับสวนสมุนไพรที่ตั้งอยู่กระจายทั่วเขตพุทธาวาสที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับโรงเรียนแพทย์ในสมัยนั้น แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันรูปปั้นฤๅษีดังกล่าวเหลืออยู่เพียง 18 ท่า จากทั้งหมด 80 ท่า ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น บทความนี้มุ่งต่อยอดจากผลงานของนาย เอ.บี. กริสโวลด์ (A.B. Griswold) ที่เคยนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปปั้นฤๅษีไปแล้วครึ่งหนึ่งในบทความก่อนหน้า โดยบทความนี้จะขยายความถึงรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่เหลืออีก 9 ท่า