งานวิจัยและบทความ

วัดพู : มรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งเมืองจำปาสัก

โดย เกรียงไกร เกิดศิริ

เผยแพร่เมื่อ 22 พฤษภาคม 2024

มรดกโลก
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, ฉบับที่ 21 (2548)


“วัดพู” เป็นศาสนสถานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของอารยธรรมบนที่ราบลุ่มริมน้ําโขงในเขตจําปาสัก และถือเป็นรากฐานสําคัญที่แสดงให้เห็นการก่อร่างสร้างตัวมีพัฒนาการทางสังคมวัฒนธรรม และรูปแบบศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากสังคมบุพกาลที่ดําเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายสู่สังคมแห่งอารยธรรมที่มีโครงสร้าง สลับซับซ้อนในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5-18

นักวางผังในสมัยโบราณได้ปรับใช้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ ให้ตอบสนองต่อแนวความคิดทางศาสนา และความเชื่อในลัทธิไศวนิกายในศาสนาฮินดู นอกจากนี้ยังปรากฏร่องรอยของแหล่งโบราณคดีจํานวนมากกระจายตัวอยู่ในพื้นที่มานับพันปี แสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของโครงสร้างสังคม, วัฒนธรรม, วิถีชีวิต, เศรษฐกิจ การปกครองและการศาสนาของบรรพบุรุษ และต้นธารวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออดเฉียงใต้ การนี้ศูนย์มรดกโลกองค์การยูเนสโกจึงได้ประกาศรับรองว่าพื้นที่มรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมจำปาสักเป็นมรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรม (World Heritage Cultural Landscape) เมื่อปี พ.ศ. 2544

คุณค่าดังที่กล่าวมาข้างต้นทําให้เกิดแนวความคิดในการจัดการและการอนุรักษ์มรดกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมของพื้นที่ โดยหัวใจหลักของการจัดการต้องคํานึงถึงความยั่งยืนของภูมิทัศน์ และการดําเนินต่อไปของประโยชน์ใช้สอยในปัจจุบันของชุมชนเจ้าของพื้นที่อย่างมีอิสระในการดําเนินชีวิต มีการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณค่า และความมั่นคงแห่งชีวิต ด้วยการอยู่ร่วมกับสภาพแวดลัอมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของตนอย่างยังยืน การจัดการและการพัฒนาที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของชุมชนมิอาจเป็นการพัฒนาที่ยังยืนได้ รวมไปถึงการท่องเที่ยวที่ปราศจากการจัดการที่ดีและละเอียดลึกซึ้งเพียงพอจะกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมและมรดกทางวัฒนธรรมรวมไปถึงการสร้างความอ่อนแอให้กับชุมชนในระยะยาวด้วย