งานวิจัยและบทความ
![](/knowledge-hub/uploads/research/303/thumb-66d2e484966d4.jpg)
ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะพลังงานกับการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรม
โดย สุรพี โพธิสาราช
เผยแพร่เมื่อ 22 พฤษภาคม 2024
นโยบายและกฎหมายอนุรักษ์, การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 3, 2 (ส.ค. 2019), 37–51.
กรณีบริษัทเอกชนมีแผนการดำเนินการเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียมบริเวณใกล้อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ที่เป็นกระแสข่าวในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม พ.ศ. 2562 เกิดจากกรณีที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ให้สัมปทานบริษัท อีโค โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัดตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ที่มีสิทธิในการดําเนินงานในการประกอบกิจการด้านปิโตรเลียมในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และได้รับพื้นที่ผลิตปิโตรเลียมเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 และมีแผนการดำเนินการเจาะหลุมผลิตปิโตรเลียมเพิ่มเติมซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ผลิตศรีเทพเหนือ ห่างจากเจดีย์บริวารของมหาสถูปเขาคลังนอก (พื้นที่ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ) ประมาณ 100 กว่าเมตร โดยทางบริษัทได้ดำเนินการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA (Environmental Impact Assessment ) ซึ่งเป็นการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อครบกระบวนการในอนุมัติให้ขุดเจาะปิโตรเลียมเป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลใจ ถึงแท่นขุดเจาะดังกล่าวจะกระทบต่อโบราณสถานเขาคลังนอกที่อยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ที่ กำลังดำเนินการขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเบื้องต้นกับยูเนสโก เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการสะท้อนการไม่ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจนเป็นเหตุให้เกิดการคัดค้านและไม่มีหน่วยงานของรัฐใดตัดสินใจใด ๆ กับความขัดแย้งดังกล่าวจนเป็นเหตุให้บริษัทเอกชนดังกล่าวระงับโครงการเองท่ามกลางข้อสงสัยเหตุใดหน่วยงานของรัฐผู้ถือกฎหมายจึงไม่มีการประสานงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงาน