งานวิจัยและบทความ
นวดไทย: มรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ
โดย กิ่งแก้ว แจ้งสวัสดิ์, ธัญญะ พรหมศร, นงนุช บุญแจ้ง, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
เผยแพร่เมื่อ 23 พฤษภาคม 2024
การแพทย์แผนไทย
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาหลักสูตรนวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ (2) เพื่อศึกษารูปแบบครูนวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ (3) เพื่อศึกษารูปแบบประดิษฐ์ท่านวดไทยมรดกทางวัฒนธรรมสุขภาพของชาติ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) วิเคราะห์สถานการณ์ และสร้างแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม (3) เก็บรวบรวมข้อมูล และทดลองรูปแบบเพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตรการนวดไทย ครูนวดไทย และพัฒนายกร่างรูปแบบท่านวดไทย (4) วิเคราะห์ข้อมูล สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า (1) การเรียนการสอนหลักสูตรการนวดไทยในปัจจุบันมีการเรียนการสอนหลายระดับ ทุกหลักสูตรที่เปิดสอนต้องได้รับรองหลักสูตรจาก (1.1) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ซึ่งมีหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานกลาง จำนวน 13 หลักสูตร (1.2) สภาการแพทย์แผนไทย มีหลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หลักสูตรแพทย์แผนไทย หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์แผนไทย และหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย (2) จากการการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.00) มีความพึงพอใจการนวดโดยมีค่าเฉลี่ย ( x̅ ) =3.46 ซึ่งอยู่ในอยู่ในระดับปานกลาง (3) การพัฒนาบุคลากรให้เป็นครูต้นแบบด้านการนวดไทยเป็นการยกระดับมาตรฐานการนวดไทยสู่ระดับสากล การพัฒนาบุคลากรครูที่มีอยู่ และบุคลากรรุ่นใหม่ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เป็นเอกลักษณ์ของครูต้นแบบ บุคลากรครูต้องปรับตัวในด้านการสอนให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ปัจจุบัน และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา