งานวิจัยและบทความ

ครึ่งศตวรรษการท่องเที่ยวไทยกับมรดกทางวัฒนธรรม

โดย นงเยาว์ จิตตะปุตตะ

เผยแพร่เมื่อ 23 พฤษภาคม 2024

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 27, 1 (เม.ย. 2021), 27–56.


หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศต่างๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ เดินทางไปมาระหว่างประเทศเพื่อสัมพันธไมตรีและเรียนรู้วัฒนธรรมกันและกันสะดวก และปลอดภัยมากขึ้น กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเชียงใต้มีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวในยุโรปและอเมริกามาก รัฐบาลไทยจึงเริ่มพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยบรรจุแผนพัฒนาการท่องเที่ยวไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๔) การท่องเที่ยวไทยจึงพัฒนาสู่ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแนวทางที่ลงทุนเพื่อหวังผลกำไรตอบแทนสูง ฉะนั้นทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งหลาย แม้แต่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นพิธีกรรมในวิถีชีวิตของชุมชนที่สืบทอดกันมาด้วยความผูกพันในความเชื่อความศรัทธา วัฒนธรรม พิธีกรรม และเทศกาลต่างๆ ถูกนำมาดัดแปลงจนผิดเพี้ยนเพื่อเอาใจนักท่องเที่ยว