งานวิจัยและบทความ
ข้อจำกัดและผลกระทบของมรดกทางภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและ วัฒนธรรมของอาเซียนภาคพื้น : ไทย ลาว และกัมพูชา
โดย วัชราภรณ์ จันทนุกูล
เผยแพร่เมื่อ 24 พฤษภาคม 2024
การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5, 1 (ธ.ค. 2018), 49–66.
บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่องการสร้างกลไกความร่วมมือเพื่อสืบสานและคุ้มครองภูมิปัญญาที่เป็นมรดกร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียนภาคพื้นดิน : กรณีไทย ลาว และกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อจำกัดและผลกระทบต่อการคงอยู่ของมรดกทางภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียนภาคพื้น : ไทย ลาว และกัมพูชาซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลการวิจัยประกอบด้วย (1) เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ (2) ประชากรเปูาหมายซึ่งเป็นประชากรผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสังคมและวัฒนธรรม ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาทั้ง 3ประเทศ ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสืบเสาะหา ด้วยวิธีการบอกต่อ (Snow ball) จำนวน 21 รูป/คน
ผลการศึกษาพบว่า (1) ข้อจำกัดต่อการคงอยู่ของมรดกภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ ระบอบการเมืองการปกครองการตระหนักในคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาการเคลื่อนย้ายแรงงานและกระแสการเปลี่ยนแปลงของประเทศภายนอก (2) ผลกระทบต่อการคงอยู่ของมรดกภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ ผลกระทบต่อวิถีชีวิตผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อระบบสังคมและ ผลกระทบต่อภาคเกษตรและผลผลิตทางการเกษตร