งานวิจัยและบทความ
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน: เมืองมรดกโลก-มรดก วัฒนธรรมมีชีวิต กรณีศึกษา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
โดย นุชเนตร กาฬสมุทร์, มณีรัตน์ สุขเกษม
เผยแพร่เมื่อ 24 พฤษภาคม 2024
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, มรดกโลก
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5, 1 (มิ.ย. 2017), 160–178.
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน: เมืองมรดกโลก-มรดกวัฒนธรรมมีชีวิต: กรณีศึกษา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน แนวคิดเกี่ยวกับมรดก ทางวัฒนธรรม และแนวคิดเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การบูรณาการการจัดการพื้นที่แหล่งมรดกโลก กับบริบทของมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำเนินชีวิต วัฒนธรรมประเพณีในมิติของกิจกรรมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เป็นการท่องเที่ยวที่มอบโอกาสแก่นักท่องเที่ยวในการพัฒนาศักยภาพ การสร้างสรรค์ของตนเองผ่านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้สัมผัสและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง อย่างที่เรียกว่า “เรียนรู้ ดูของจริง แล้วลงมือทำ” ตามเอกลักษณ์เฉพาะของแหล่งท่องเที่ยวที่ได้ไปเยือน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้ตัวตนที่แท้จริง ประกอบด้วย การเรียนรู้นาฏศิลป์สุโขทัย การเรียนรู้ การทำสังคโลกบ้านเกาะน้อย การเรียนรู้พระเครื่องเมืองสุโขทัย การเรียนรู้การทำเซรามิคสุโขทัย การเรียนรู้ การทำผ้าหมักโคลนบ้านนาต้นจั่น การเรียนรู้วิถีชีวิตโฮมสเตย์บ้านนาต้นจั่น และการเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม อันจะนำไปสู่การพัฒนาแหล่งมรดกโลกเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารได้อย่างยั่งยืนสืบไป