งานวิจัยและบทความ

เปอรานากัน : บาบ๋า-ย่าหยา มรดกทางวัฒนธรรมสายเลือดลูกผสมมลายู-จีน

โดย ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์, อติยศ สรรคบุรานุรักษ์

เผยแพร่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2024

มรดกวัฒนธรรม, ชาติพันธุ์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร: ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ(กันยายน - ธันวาคม 2561)


เปอรานากัน สายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีน ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบมลายูและพื้นที่ชายฝั่งทะเลของเกาะชวาและเกาะสุมาตราในช่วงต้นศตวรรษที่ 15 ในช่วงศตวรรษที่ 19 เปอรานากันอพยพเข้ามาในเขตท่าเรือของปีนังและสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในช่วงขยายอาณานิคมของอังกฤษ ชาวเปอรานากันประสบความสำเร็จในฐานะพ่อค้าจนกลายมาเป็นนักทำการค้ามืออาชีพในเวลาต่อมา ชุมชนชาวเปอรานากันถูกขนานนามว่า ช่องแคบจีน (Straits Chinese) หรือบาบ๋า ย่าหยา คำที่ใช้เรียกสายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีนที่ถือกำเนิดและอาศัยในแถบคาบสมุทรมลายู-อินโดนีเซีย อันได้แก่ เมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์และหมู่เกาะชวาอินโดนีเซีย คำว่า บ้าบ๋า เป็นคำที่มาเลย์ยืมมาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า การให้เกียรติ บรรพบุรุษ และถูกนำมาใช้เรียกชาวจีนเลือดผสมที่เป็นเพศชาย และคำว่า ย่าหยา นำมาใช้เรียกชาวจีนเลือดผสมที่เป็นเพศหญิง ซึ่งเป็นคำที่ชาวชวายืมมาจากภาษาอิตาลี แปลว่า หญิงต่างขาติที่แต่งงานแล้ว หรืออาจจะมาจากภาษาโปตุเกสที่แปลว่าคุณผู้หญิง บทความนี้นำเสนอประวัติความเป็นมา วิถีชีวิตและความผสมผสาน ความเป็นพหุวัฒนธรรมของเปอรานากันสายเลือดลูกผสมระหว่างมลายูและจีน