งานวิจัยและบทความ

ยุทธศาสตร์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช

โดย พรรณนภา เขียวน้อย, ศิวพร ถาวรวงศา, ส.ศิริชัย นาคอุดม

เผยแพร่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2024

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, มรดกโลก
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารท่องเที่ยวไทยนานาชาติ (วททน.) ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (2018)


การวิจัยเรื่องยุทธศาสตร์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน และ 2) เสนอแนะยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เกี่ยวข้องจำนวน 20 ราย ใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงการแข่งขันตามแบบจำลองเพชรพลวัต(Dynamic Diamond Model) วิเคราะห์สภาพองค์กร (SWOT Analysis) และ (TOWS Matrix) ผลการศึกษาพบว่า 1) ยุทธศาสตร์การลดต้นทุนในการดำเนินงาน ประกอบด้วย กลยุทธ์การสร้างเครือข่าย และกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับนานาชาติ 2) ยุทธศาสตร์การสร้างความแตกต่าง ประกอบด้วยกลยุทธ์ส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) ยุทธศาสตร์การตอบสนองความต้องการของลูกค้า ประกอบด้วย กลยุทธ์การท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน และกลยุทธ์พัฒนาการขนส่งเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 4) ยุทธศาสตร์การสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย กลยุทธ์การร่วมกันพัฒนา 3 ด้าน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคเอกชน และกลยุทธ์พัฒนาจิตสำนึกในการอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของนักท่องเที่ยว