งานวิจัยและบทความ

มรดกสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยแหล่งการดนตรีอาเซียน กรณีศึกษา: บ้านครูดนตรีไทย-ลาว

โดย สุรพล สุวรรณ

เผยแพร่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2024

สถาปัตยกรรม, ดนตรี
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. Vol. 21 No. 2 (2015): July - December 2015


มรดกสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยเป็นรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการสะท้อนภาพองค์ประกอบทั้งการใช้ประโยชน์ทางสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมวิถีชีวิตจนส่งผลให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมรดกสถาปัตยกรรมนั้นๆ ซึ่งสามารถรับร้คูวามเป็นท้องถิ่นหรือความเป็นถิ่นที่นั้นๆ ได้อย่างชัดเจนเมื่อองค์ประกอบของภูมิทัศน์ในพื้นที่แห่งนั้นมีความชัดเจนและเป็นเอกภาพบทความทางวิชาการนี้เป็นข้อสังเกตที่ได้จากโครงการวิจัย “โครงการวิจัยสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยและการดนตรีสู่สำเนียงดนตรีไทยร่วมอาเซียน” ซึ่งได้ใช้ระเบียบวิธีการดำเนินการวิจัยที่เน้นเชิงคุณภาพเป็นหลักแต่ยังคงผนวกกับการศึกษาสังเกตถึงรูปแบบการจัดวางผังอาคารการจัดวางผังบริเวณและการใช้ที่ดินโดยรอบตัวเรือนองค์ประกอบภูมิทัศน์และรูปแบบพื้นที่ในเชิงสังคมผลจากการศึกษาวิจัยพบว่ามรดกสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยแหล่งการดนตรีเกิดจากการที่ศิลปินผู้อยู่อาศัยได้ปรับเปลี่ยนรูปทรงทางสถาปัตยกรรมเพื่อการอยู่อาศัยและวิถีชีวิตตลอดจนสภาพแวดล้อมโดยให้สัมพันธ์กับการจัดวางเนื้อที่ใช้งานทั้งภายในและภายนอกเพื่อตอบสนองกิจกรรมในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและยังสามารถปรับไปตามยุคสมัยได้อย่างประสานกลมกลืนกัน