งานวิจัยและบทความ

แผนที่มรดกทางวัฒนธรรม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

โดย สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี, สุรพล มโนวงศ์, อิศรา กันแตง

เผยแพร่เมื่อ 2 เมษายน 2024

การจัดการมรดกวัฒนธรรม, แผนที่วัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารหน้าจั่ว ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม, ฉบับที่ 29 (2558)


บทความวิชาการนี้ เป็นผลจากการศึกษาวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษาและจัดทำแผนที่มรดกทางวัฒนธรรม เพื่อ พัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนดั้งเดิมและมรดกทางวัฒนธรรม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่” สนับสนุนงบประมาณโดยการ เคหะแห่งชาติ ที่เห็นความสำคัญของอำเภอแม่แจ่มว่ายังคงมีเรือนไม้ที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจำนวนมาก รวม ถึงอาคารทางศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองและหมู่บ้าน ตลาด ฯลฯ ความงามของสภาพแวดล้อมแบบเมืองในหุบเขา วิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวหรือเรียนรู้ด้านมรดกทางวัฒนธรรม

การศึกษามี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สำรวจ และระบุอาคารในชุมชนที่อยู่อาศัยดั้งเดิม แหล่งหรือบริเวณมรดก โดยระบุที่ตั้ง พิกัด รูปแบบสถาปัตยกรรม คุณค่าทางประวัติศาสตร์ สังคมและเศรษฐกิจ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ 2) จัดระบบ และบันทึกแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ 3) ประเมินความเสี่ยงขั้นต้นของมรดกทางวัฒนธรรม และเสนอแนวทางเบื้องต้นในการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ผลการศึกษา ได้จัดระบบมรดกทางวัฒนธรรมของเมือง แม่แจ่มออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ แหล่งประวัติศาสตร์ วัด ร้านค้าและเคหสถาน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แหล่งภูมิปัญญาท้อง ถิ่น แหล่งพิธีกรรม และแหล่งอื่นๆ รวมจำนวน 86 แห่ง การจัดทำแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมได้นำเสนอแผนที่ในภาพ รวมทั้งเมือง และแผนที่ขยายในอีก 4 บริเวณ แสดงสัญลักษณ์ของแหล่งมรดกแต่ละประเภทเพื่อการสืบค้นเชื่อมโยงไปยัง เนื้อหาที่ประกอบด้วย พิกัดที่ตั้ง ประวัติความเป็นมา สิ่งสำคัญและจุดเด่น เจ้าของหรือผู้ครอบครอง และภาพถ่าย การ ประเมินความเสี่ยงในเบื้องต้นกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (แหล่งประวัติศาสตร์ วัด ร้านค้าและเคหสถาน สถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์) ใช้เกณฑ์พิจารณา 3 ข้อ ได้แก่ 1) การเสื่อมโทรมทางกายภาพ 2) การเปลี่ยนแปลงจากสภาพดั้งเดิม และ 3) การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยประเมินระดับความเสี่ยงเป็น สูง กลาง และตํ่า มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (ภูมิปัญญาท้องถิ่น พิธีกรรม และอื่นๆ) ใช้การพิจารณาความเสี่ยงจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนข้อเสนอแนะด้านการอนุรักษ์ มีทั้งมาตรการบังคับและจูงใจ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำและตัวแผนที่มรดกทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ ให้คนแม่แจ่มและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ประกอบการวางแผนอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนดั้งเดิมที่มีมรดกทางวัฒนธรรม ทรงคุณค่าให้คงอยู่ต่อไปได้