งานวิจัยและบทความ
การเปลี่ยนแปลงภูมิสัณฐานเมืองและแนวทางการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์สงขลา
โดย ครองชัย หัตถา, ณัฐนีภรณ์ น้อยเสงี่ยม
เผยแพร่เมื่อ 25 พฤษภาคม 2024
เมืองเก่า, การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภูมิสัณฐานและรูปแบบมรดกสถาปัตยกรรม และเป็นพื้นฐานนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณร่วมกับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า เมืองประวัติศาสตร์สงขลาเป็นเมืองท่าการค้าทางทะเลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมืองสงขลาหัวเขาแดง เมืองสงขลาแหลมสน และเมืองสงขลาบ่อยาง รวมทั้งมีความหลากหลายของกลุ่มวัฒนธรรมไทย จีน มุสลิม และรูปแบบมรดกสถาปัตยกรรมที่หลากหลายดังปรากฎเป็นหลักฐานมาจนถึงปัจจุบัน ลักษณะภูมิศาสตร์และการกระจายตัวของชุมชนที่มีการเชื่อมโครงข่ายถนนเพื่อเป็นทางสัญจรส่งผลต่อรูปแบบผังเมืองและการสร้างอาคารในลักษณะต่อเนื่องแบบ “ตึกแถว” ปัจจุบันเมืองประวัติศาสตร์สงขลาประสบปัญหาการพัฒนาอย่างขาดความเข้าใจในพื้นที่และขาดแนวทางอนุรักษ์ก่อให้เกิดผลกระทบแก่มรดกสถาปัตยกรรม ดังนั้นการศึกษานี้จะนำไปใช้เพื่อทำความเข้าใจการตั้งถิ่นฐานของชุมชน รวมไปถึงการเสนอแนวทางการอนุรักษ์และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมเพื่อรักษาคุณค่ามรดกสถาปัตยกรรมของพื้นที่เอาไว้ได้