งานวิจัยและบทความ

การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย
โดย ชวดี โกศล
เผยแพร่เมื่อ 26 พฤษภาคม 2024
การจัดการมรดกวัฒนธรรม, ชาติพันธุ์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ Vol. 6 No. 2 (2561): May - August 2018
กลุ่มชาติพันธุ์เป็นส่วนสำคัญของความมั่นคงขั้นพื้นฐาน และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คนในกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการทำประโยชน์ให้กับประเทศมากมาย ความหลากหลายทางชาติพันธุ์นี้ ส่งผลให้ประเทศไทยมีมรดก อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายล้วนมีคุณค่า ได้แก่ ภาษา ศิลปะการแสดง อาหาร การแต่งกาย ความเชื่อ วิถีชีวิต และประเพณีต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้ คือ ทุนทางวัฒนธรรม ที่ช่วยสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกสาขาให้มีอาชีพ ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นและสถาบันภาครัฐ องค์กรต่างๆ มีอิทธิพลต่อการกำหนด “เป้าหมาย” ทางเศรษฐกิจ สังคม เป็นข้อมูลในการวางนโยบาย และแผนปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆของคนในชุมชนท้องถิ่นตามแบบแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ไทยนิยม การศึกษาวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง ที่มีผลต่อการอยู่รอดของกลุ่มชาติพันธุ์ 2) ศึกษากลยุทธ์ในการจัดการความรู้ เพื่อดำรงอยู่ในระบบการเมืองการปกครอง ผ่านการมีส่วนร่วม เพื่อหาแนวทางในการธรรมรงค์รักษาอัตลักษณ์ อนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี และ 3)พัฒนารูปแบบนำมาประยุกต์ใช้เป็นโมเดลในการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ต่อไป วิธีการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลหลายรูปแบบ คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) การสนทนากลุ่ม(focus group discussion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participatory observation) การศึกษาพบว่า ในการรวมตัวของประชาชนในท้องถิ่น ทำให้เกิดพลังของกิจกรรมทางด้านการเมือง ในการต่อรอง ใช้พลังของการรวมตัวของชาติพันธุ์ ขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐร่วมกับคนในท้องถิ่นในเชิงสร้างสรรค์ ในทางเศรษฐกิจ ได้ต่อยอดที่มากจากทุนทางสังคม ได้กำหนดขอบเขต นำพื้นที่ทางวัฒนธรรมมารวมกลุ่ม โดยมีเป้าหมาย นำวัฒนธรรมมาเป็นแนวทางพัฒนาเป็นพื้นฐานต่อยอด ในเรื่องของสังคม คือการสร้างความเข้มแข็ง ความอบอุ่น สร้างความสามัคคีในชุมชน โดยใช้วัฒนธรรมหล่อหลอม เป็นการสร้างรายได้และสามารถยึดเป็นอาชีพหลักและเสริม ซึ่งนำวัฒนธรรมไปผนวกกับเรื่องเศรษฐกิจ สร้างให้เป็นเมืองของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม มีการวางแผนบริหารจัดการ โดยอาศัย “วัฒนธรรมรากฐาน”( area based approach)