งานวิจัยและบทความ

มรดกทางภูมิปัญญา: อัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียนภาคพื้นไทย ลาว และกัมพูชา

โดย วัชราภรณ์ จันทนุกูล

เผยแพร่เมื่อ 26 พฤษภาคม 2024

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (2018): (กรกฎาคม - กันยายน 2561)


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นําเสนอมรดกทางภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์ร่วมทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศอาเซียนภาคพื้นดินไทย ลาว และกัมพูชา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลการวิจัยประกอบด้วย (1) เอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ (2) ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ พระสงฆ์ นักวิชาการ ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสังคมและวัฒนธรรม ภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาทั้ง 3 ประเทศ ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีการสืบเสาะหา ด้วยวิธีการบอกต่อ (Snow ball) จํานวน 21 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า  อัตลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันของประเทศอาเซียนภาคพื้นดินไทย ลาว และกัมพูชา มีจํานวน 66 อัตลักษณ์ ส่วนอัตลักษณ์ร่วมที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางสังคมและวัฒนธรรมของทั้งสามประเทศที่เสี่ยงต่อการถูกท้าทายและกลืนกลายจากกระแสวัตถุนิยมภายนอก มีจํานวน 19  อัตลักษณ์ ซึ่งจําแนกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มบุคลิกภาพหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล 2) กลุ่มระบบ รูปแบบ หรือบรรทัดฐานทางสังคม และ 3) กลุ่มประเพณี พิธีกรรม หรือวัฒนธรรม