งานวิจัยและบทความ

การจัดการมรดกโลกโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และภาคประชาชน ในพื้นที่รอบมรดกโลก

โดย ศิริโรจน์ นามเสนา

เผยแพร่เมื่อ 26 พฤษภาคม 2024

การจัดการมรดกวัฒนธรรม, มรดกโลก
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2021): ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2564


การวิจัยเรื่องการการจัดการมรดกโลกโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และภาคประชาชนใน พื้นที่รอบมรดกโลกมีวัตถุประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาการจัดการมรดกโลกขององค์กรด้านการศึกษาและวัฒนธรรม (2) เพื่อศึกษาการจัดการแบบมีส่วนร่วมในพื้นที่รอบมรดกโลกของพระสงฆ์และชุมชน (3) เพื่อเสริมสร้างรูปแบบการจัดการมรดกโลกแบบมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และชุมชน วิธีการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative  Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อให้การวิจัยเรื่อง “การวิจัยเรื่องการการจัดการมรดกโลกโดยการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์และภาคประชาชนในพื้นที่รอบมรดกโลก” มีสาระครอบคลุมครบถ้วน เหมาะสำหรับนำไปพัฒนาต่อไป

ผลการวิจัยพบว่า

1) แนวทางการดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีรายละเอียดการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ 1. แผนการบริหารจัดการในช่วงระยะ 5 ปีแรก(แผนระยะสั้น) ในระยะ5ปีแรก'นั้น แผนงานประวัติศาสตร์ โบราณคดี และโบราณสถาน จะเป็นแผนที่มีความสำคัญและเร่งด่วนที่สุด ดังนั้นใน ส่วนของแผนการบริหารจัดการที่จะดำเนินการควบคู่ไป โดยในระยะแรกจะเน้นไปที่การเตรียมความพร้อม ให้กับท้องถิ่นเป็นหลัก2. แผนการบริหารจัดการในช่วงระยะ 10 ปี (แผนระยะยาว) หลังจากดำเนินการ สำรวจ และขุดค้นตามแผนงานประวัติศาสตร์ โบราณคดี โบราณสถานแล้วเสร็จ แผนการบริหารจัดการใน ระยะนี้เริ่มให้ความสำคัญต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของท้องถิ่นมากขึ้น และนำไปสู่การถ่ายโอนอำนาจการ บริหารจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ไปสู่ท้องถิ่นในที่สุด

2) การจัดการพื้นที่มรดกอุทยานประวัติศาสตร์ กำแพงเพชรคือ กฎหมายที่ใช้ในการจัดการพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ฯ ไม่ได้ถูกน่ามาใช้อย่างเด็ดขาด ปัญหาการขาดบุคลากรเป็นจำนวนมากในการดูแลและให้บริการในพื้นที่ ปัญหาจากการตัดผ่านชองทาง หลวงทำให้เส้นทางการเข้าชมโบราณสถานขาดความต่อเนื่อง ทั้งนี้การกำหนดเขตการจัดการพื้นที่อุทยาน ประวัติศาสตร์ฯ ที่ไม่มีความซัดเจนทำให้เกิดปัญหาตามมาหลายประเด็น เช่น หน่วยงานราชการหลาย หน่วยงานก็มีการใช้ประโยชน์จากที่ดินทับซ้อนกันและไม่ให้ความร่วมมือกับทางอุทยานฯ และการที่ อุทยานประวัติศาสตร์ฯ ตั้งอยู่ในเขตเมืองซึ่งมีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่โดยรอบ ซึ่งมีการขยายตัวของเมืองมากขึ้น ประกอบกับไม่มีพื้นที่กันชนทำให้เกิดการบดบังทัศนียภาพ และยังพบว่าประชาชนในพื้นที่ขาด แรงจูงใจในการสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจในการอนุรักษ์มรดกโลก ซึ่งพบได้จากการลักลอบขุด โบราณวัตถุ และการสร้างสิ่งปลูกสร้างล้ำเขตพื้นที่ เป็นต้น ปัญหาสำคัญอีกประการคือการขาดความ ต่อเนื่องในการศึกษาด้านวิชาการเกี่ยวกับด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และสถาปัตยกรรม

3) จากการดำเนินงานใน 3 กิจกรรมที่คณะผู้วิจัยมีส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่รอบมรดกโลกในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมพบว่า กิจกรรมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดสามารถเป็นต้นแบบในการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเชิงพุทธในการอนุรักษ์มรดกโลก คือ กิจกรมการนำมรดกธรรมกลับคืนสู่มรดกโลก หลังจากที่คณะสงฆ์และผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ได้ดำเนินการคืนข้อมูลจากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นข้อมูลย้อนกลับไปคืนยังหน่วยงานองค์กร ชุมชนของตน ทำให้เกิดกิจกรรมทางศาสนาในพื้นที่มรดกโลกเป็นประจำสม่ำเสมอ เพิ่มจำนวนพระสงฆ์/วัดที่จัดกิจกรรมในพื้นที่มรดกโลก และเกิดการจัดการเชิงสัญลักษณ์ในระดับนโยบาย นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้นำในภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาในพื้นที่มรดกโลก กำแพงเพชร