งานวิจัยและบทความ

ย่านชุมชนเก่า: นิยาม คุณค่า กลไกการฟื้นฟู สู่ชีวิตประจำวัน
โดย ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ
เผยแพร่เมื่อ 26 พฤษภาคม 2024
การจัดการมรดกวัฒนธรรม, ย่านชุมชนเก่า
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (2015): มกราคม - มิถุนายน 2558
การอนุรักษ์และพัฒนาย่านชุมชนเก่าในประเทศไทยยังต้องผ่านกระบวนการที่เกิดจากประสบการณ์จริง เพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการอนุรักษ์ เริ่มจากย่านชุมชน ขยายไปถึงขอบเขตของระบบชุมชนทั้งกายภาพและนามธรรม สิ่งที่สำคัญก็คือบูรณภาพและคุณค่าความสำคัญที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากคุณค่าขององค์ประกอบย่อย ๆ รวมกัน (Collective Values) การยอมรับในความหลากหลาย และการเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นแล้วและเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่หล่อหลอมรวมกับ
การปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม รวมไปถึงการยอมรับในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมร่วมสมัย มรดกสภาพแวดล้อมพื้นถิ่นจะทำให้ภาพความเข้าใจในการอนุรักษ์ย่านชุมชนเก่าชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาเมืองอันมีเป้าหมายใช่อื่นใด หากเพื่อความเป็นชุมชนน่าอยู่ และมคี ณุ ภาพชีวติ ทีดี่ของชมุ ชนและคนร่นุ หลงั ต่อไปการอนุรักษ์เพียงแต่องค์ประกอบบางอย่างส่งผลให้เกิดการกระทบต่อคุณค่าของย่านชุมชนเก่าโดยรวม โดยเฉพาะการฟื้นฟูตลาดเก่า ตลาดริมน้ำ โดยเน้นที่การอนุรักษ์
ทางกายภาพ สถาปัตยกรรม และใช้วิธีการทางการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดเป็นกิจกรรมการค้าใหม่ขึ้นมาโดยอาศัยบรรยากาศของการอนุรักษ์เป็นฉากหลัง แม้ว่าจะกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของชุมชนได้ในระดับหนึ่ง แต่นั่นก็เป็นเพียงระยะสั้น กระบวนการดังกล่าวทำให้เกิดการเข้ามาของกล่มุทุน นายทุนขนาดเล็ก ใหญ่ หรือแม้แต่ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของเจ้าของพื้นที่เดิม ทำให้ระบบชุมชนเดิมไม่สามารถดำรงอยู่ได้ กลุ่มคนเล็กๆ ซึ่งเคยมีบทบาทต่อการดำรงอยู่ของชุมชน ไม่สามารถมีที่ทางอยู่ได้ในพื้นที่การอนุรักษ์ใหม่นี้
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเพื่อศึกษาจัดทำมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม ประเภทย่านชุมชนเก่าในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2554-2555 เพื่อหาแนวทางการฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า ทั้งจากระดับนโยบายจากภาครัฐ และการค้นหาพลังการฟื้นฟูจากระดับล่าง จากสามัญชนคนธรรมดา โดยพลังของชีวิตประจำวันที่ผู้คนพยายามหาที่ทางในการขับเคลื่อนและใช้งานย่านชุมชนเก่าอย่างมีพลวัต