งานวิจัยและบทความ

ไทดำ : พลวัตวัฒนธรรมกับการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ผ่านดนตรี
โดย สมทรง บุรุษพัฒน์, สุธี จันทร์ศรี
เผยแพร่เมื่อ 27 พฤษภาคม 2024
ศิลปะการแสดง, ดนตรี, ชาติพันธุ์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารภาษาและวัฒนธรรม, ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (2018): January – June
บทความนี้มุ่งอธิบายการธำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีที่พบในวัฒนธรรมดนตรีของชาวไทดำภายใต้บริบททางสังคมวัฒนธรรมใน 3 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไทย ซึ่งเป็นความพยายามอธิบายผ่านการศึกษาเชิงบูรณาการตามแนวทางการศึกษาด้านมานุษยวิทยาการดนตรีและมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมดนตรีไทดำทั้ง 3 ประเทศมีลักษณะเฉพาะทางดนตรีที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภายใต้บริบททางสังคมที่แตกต่างกันไป ได้แก่ 1) การคงสภาพของลักษณะเฉพาะทางดนตรีเพื่อตอกย้ำจิตสำนึกความเป็นชาติพันธุ์ 2) การเลือกนำเสนอลักษณะเฉพาะทางดนตรีเพื่อสร้างความเด่นชัดของพรมแดนชาติพันธุ์บนพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย 3) การผสมผสานองค์ประกอบดนตรีเข้ากับดนตรีสมัยนิยม เพื่อต่อรองในเชิงคุณค่าสุนทรียะและแสดงถึงศักยภาพทางดนตรีที่มีความทันสมัยทัดเทียมกับดนตรีกระแสหลัก 4) สร้างสรรค์องค์ประกอบทางดนตรีขึ้นใหม่ โดยส่งผ่านไปยังสมาชิกในชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไทดำที่สะท้อนจิตสำนึกของชาวไทดำได้ สะท้อนให้เห็นว่าชาวไทดำสามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์วัฒนธรรมดนตรีของตนให้สอดคล้องกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดนตรีของชาวไทดำจึงได้รับการสืบทอดและทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อธำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ภายใต้พลวัตวัฒนธรรมที่ไม่หยุดนิ่งต่อไปได้