งานวิจัยและบทความ

เพลงโคราช : ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่มรดกทางวัฒนธรรม

โดย วัลย์ลิกา เจริญศิลป์

เผยแพร่เมื่อ 2 เมษายน 2024

ศิลปะการแสดง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (2019): พฤษภาคม-สิงหาคม 2562


จากการละเล่นพื้นบ้านที่ใช้ไหวพริบของหมอเพลง เป็นเพลงที่ไม่มีเครื่องดนตรีประกอบในการร้อง เพลงโคราชเป็นการละเล่นในงานพิธีต่าง ๆ ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของชาวโคราชมาตั้งแต่อดีต เมื่อยุคสมัยกาลเวลาเปลี่ยน ความนิยมในการฟังเพลงเปลี่ยนไป ทำให้การละเล่นที่ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมกำลังจะเลือนหายไปตามกาลเวลา จึงจำเป็นที่จะต้องรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญนี้ให้อยู่คู่กับเมืองโคราชสืบไป ด้วยการใช้ส่วนประสมทางการตลาดตามทฤษฏีการส่งเสริมการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้แก่ การส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ (Product) คือ เพลงโคราชให้มีเนื้อหาที่หลากหลายตรงใจผู้ฟังมากขึ้น ด้านราคา (Price ) ต้องมีการควบคุมราคาให้เหมาะสม ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place ) ด้วยการใช้ช่องทางออนไลน์ การส่งเสริมการตลาด(Promotion ) ด้วยการนำเพลงโคราชเข้าร่วมงานเทศกาลและส่งเสริมการตลาดทางสื่อออนไลน์ ลักษณะทางกายภาพ (Physical evidence) ด้วยการเพิ่มพื้นที่จอดรถ รถรับส่งนักท่องเที่ยว และเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการนั่งฟังเพลงโคราช กระบวนการให้บริการ (Process) ด้วยการใช้ Application ในการให้ข้อมูลเพลงโคราชและการชำระค่าสินค้าผ่าน smart phone  และบุคลากร (People) ด้วยการให้ความรู้และฝึกฝนคนรุ่นใหม่ในการร้องเพลงโคราชในสถานศึกษาและการเพิ่มผู้บรรยายในการให้ข้อมูลเพลงโคราช