งานวิจัยและบทความ
![](/knowledge-hub/images/solid-500.png)
การขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 : กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรม ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
โดย จิรวรรณ ทองพายัพ, ในตะวัน กำหอม
เผยแพร่เมื่อ 3 เมษายน 2024
ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารมหาจุฬาคชสาร, ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (2021): กรกฎาคม - ธันวาคม 2564
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 : กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการภาครัฐด้านวัฒนธรรม ตามแนวทาง “การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม” ในกรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบลขวาว โดยใช้รูปแบบการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ และประธานสภาวัฒนธรรม
ผลการศึกษาพบว่า
1. การดำเนินการการขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ.2559 : กรณีศึกษาสภาวัฒนธรรมตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มี 2 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม คือ เซิ้งผ้าหมี่บ้านขวาว และ ผ้าหมี่บ้านขวาว ลายดาวล้อมเดือน ยาบดอกสะแบง
2. การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ยังไม่ได้รับการตอบรับในการให้สภาวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมมากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการเชิญนักวิชาการหรือผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมเป็นคณะกรรมการในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรม ทำให้การขอขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ยังไม่ได้รับความนิยมจากองค์กรของรัฐในระดับต่าง ๆ และขาดแกนนำที่สำคัญ