งานวิจัยและบทความ
![](/knowledge-hub/images/solid-500.png)
การก่อรูปและการเปลี่ยนแปลง ความหมายของพิพิธภัณฑสถาน: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ จากยุคอาณานิคมสู่การสร้างชาติ
โดย ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ
เผยแพร่เมื่อ 14 มิถุนายน 2024
พิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
บทความนี้อภิปรายกระบวนการเปลี่ยนผ่านของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ในฐานะสถาบันทางวัฒนธรรมจากยุคอาณานิคมสู่การสร้างชาติ ผู้เขียนได้ประมวลบทความที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลการจัดแสดงของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ และนำเสนอเนื้อหาโดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรก สำรวจการก่อตัวและพัฒนาการระยะแรกภายใต้ชื่อหอสมุดและพิพิธภัณฑ์รัฟเฟิลส์ (ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19) และแสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑ์เป็นวาระของเจ้าอาณานิคม หรือ “ภาระของคนขาว” ซึ่งใช้หนังสือและวัตถุเป็นสิ่งที่ชี้บ่งถึงสถานภาพผู้ผลิตความรู้และศูนย์กลางการปกครอง ช่วงที่สอง เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการนิยามพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ค.ศ. 1959 ถึงสิ้นทศวรรษ 1980) ซึ่งสะท้อนถึงความยอกย้อนของรัฐในการใช้ประโยชน์จากพิพิธภัณฑ์อันเป็นหนึ่งในมรดกอาณานิคม ก่อนจะปรับเปลี่ยนมาสู่การสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ช่วงที่สาม ยุคของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ (ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 ถึงปัจจุบัน) ซึ่งเน้นการสร้างสำนึกความเป็นชาติพร้อมกับการใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และมุ่งฉายภาพลักษณ์ของความเป็นศูนย์กลางในยุคโลกาภิวัตน์