งานวิจัยและบทความ

หุ่นกระบอกไทยพื้นบ้านประยุกต์ : ประสบการณ์ล้านนากับงานศิลปะหลากแขนง

โดย วิลาวัณย์ เศวตเศรนี

เผยแพร่เมื่อ 14 มิถุนายน 2024

ศิลปะการแสดง
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารวิจิตรศิลป์, ปีที่ 2 ฉบับ 1 (2010): มกราคม - มิถุนายน 2553


งานวิจัยนี้นำเสนอประสบการณ์การทำงานกับ "หุ่นล้านนา" อันเป็นหุ่นกระบอกไทยแบบประยุกต์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงตั้งแต่การเริ่มออกแบบหุ่น การประดิษฐ์ตัวหุ่น จนถึงการจัดการแสดงบนเวที โดยกระบวนการที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการรวมกันของงานศิลปะหลากหลายแขนง ที่ได้รับผลกระทบจากทั้งจากทั้ง จารีตประเพณีดั้งเดิมและการเชื่อมต่อโดยไร้พรมแดนของสังคมโลกในปัจจุบัน จนอาจกล่าวได้ว่า แรงบันดาลใจหลักในการ สร้างสรรค์หุ่นกระบอกประยุกต์ คือความหลากล้นของมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา กอปรกับจังหวะของการก้าวเข้าสู่ความเจริญของยุคสมัย

ละครหุ่น เป็นศิลปะการแสดงที่เก่าแก่ที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและเป็นมรดกตกทอดของสังคมไทยมาช้านาน  ก่อนยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งนำมาซึ่งความบันเทิงหลากหลายรูปแบบเข้ามานั้น ศิลปะละครหุ่นได้ถูกใช้เพื่อ    การสั่งสอน และสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ทางพุทธศาสนา  นอกจากนี้ยังใช้เป็นสื่อสำคัญในการสร้างความบันเทิงสนุกสนาน แต่ในยุคปัจจุบัน  ศิลปะการแสดงละครหุ่นแบบเก่าที่เคยเป็นสื่อที่ให้ความรู้ และความบันเทิงมักจะถูกมองว่าเป็นของหายากและเป็นของโบราณคร่ำครึ งานวิจัยนี้ยังได้ เสนอข้อบ่งชี้และอธิบายถึงแง่มุมอันเป็นที่มาของอัตลักษณ์ใหม่ของหุ่นประยุกต์ซึ่งเกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการประดิษฐ์สร้างสรรค์ตัวหุ่น กระบวนการดัดแปลงประยุกต์นี้ได้สะท้อนอย่างชัดเจนถึงผล  กระทบของการเชื่อมโยงอย่างไร้พรมแดนของสังคมโลกปัจจุับนในสังคมไทยซึ่งดูประหนึ่งว่ากำลังเข้าสู่ความทันสมัยภายใต้ภาวะการไร้พรมแดนของสังคม ศิลปะดั้งเดิมก็ต้องมีการเปลี่ยนไปเช่นกัน