งานวิจัยและบทความ

อัตลักษณ์ของถิ่นที่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของอาคารเก่าในเขตเมืองเก่า

โดย พีรยา บุญประสงค์

เผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายน 2024

สถาปัตยกรรม, เมืองเก่า, การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, Vol. 16 No. 2 (2019): July - December


การทำความเข้าใจบทบาทในการให้ความหมายและการตระหนักรู้ต่อถิ่นที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างกรอบแนวคิดในการประเมินคุณค่าให้กับถิ่นที่ โดยเฉพาะการให้ความหมายของการกระทำที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อมของถิ่นที่ทำให้เกิดการแปลกแยกออกไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการทำความเข้าใจถึงบทบาทของอัตลักษณ์ที่เป็นความสัมพันธ์ของการให้ความหมายของคนต่อสภาพแวดล้อม ในบทบาทของการแสดงออกในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยที่ควบคุมโดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการแสดงออกของการกระทำในแต่ละขั้นตอน โดยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการของอัตลักษณ์ของถิ่นที่ในเชิงจิตวิทยา สังคม และสถาปัตยกรรม เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของอัตลักษณ์กับกิจกรรมที่เกิดในกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยและการแสดงออกทางพฤติกรรมในกรอบจริยธรรมของการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม จากการศึกษาพบว่า อัตลักษณ์ของถิ่นที่ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของอาคารเก่าในเขตเมืองเก่า เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนต่อการเปลี่ยนแปลงและการสูญหายในขณะที่เมืองเกิดการพัฒนา การกระทำหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงควรเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสังคมและวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงไปกับมิติสัมพันธ์ของกระบวนการและองค์ประกอบของเมืองเก่าทั้งด้านกายภาพ กิจกรรมและประโยชน์ใช้สอย ประเพณีและวิถีชีวิต ที่สอดคล้องไปกับถิ่นที่นั้นๆ