งานวิจัยและบทความ

มรดกอาณานิคมในการจัดแสดงวัตถุทางชาติพันธุ์ และการรื้อถอนอำนาจอาณานิคม
โดย อุดมลักษณ์ ฮุ่นตระกูล
เผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายน 2024
พิพิธภัณฑ์และจดหมายเหตุ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารมานุษยวิทยา, ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2565)
บทความชิ้นนี้ให้ความสนใจประเด็นมรดกอาณานิคมของดัตช์ในการจัดแสดงภาพแทนทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย ภาพแทนความจริงของอินโดนีเซียถูกสร้างขึ้นผ่านชุดสะสมทางชาติพันธุ์ และการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ในช่วงการปกครองโดยเจ้าอาณานิคมดัตช์ หลังจากนั้นภาพแทนทางวัฒนธรรม และชุดสะสมทางชาติพันธุ์ ยังถูกส่งต่อมาสู่ช่วงหลังอาณานิคม บทความชิ้นนี้เสนอว่าภาพแทนทางวัฒนธรรมในฐานะมรดกของอาณานิคมถูกผลิตซ้ำโดยรัฐบาลของอินโดนีเซียเพื่อวาระซ่อนเร้นทางการเมือง และเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามปฏิบัติการเพื่อรื้อถอนอำนาจอาณานิคมนี้ปรากฏอยู่ในพื้นที่สาธารณะโดยชุมชนท้องถิ่น ในพิพิธภัณฑ์บางในแห่งเนเธอร์แลนด์ บทความนี้ใช้การทบทวนเอกสารเป็นวิธีวิทยาหลักของบทความคำสำคัญ: อินโดนีเซีย มรดกอาณานิคม วัตถุสะสมทางชาติพันธุ์ การรื้อถอนอำนาจอาณานิคม