งานวิจัยและบทความ

จ้วง - ไทย ในมิติบ้านพักอาศัย : ความทรงจำร่วม จากประสบการณ์การเดินทางดูงาน วัฒนธรรมร่วม ไทย-จีน

โดย วีระพันธุ์ ชินวัตร

เผยแพร่เมื่อ 15 มิถุนายน 2024

กลุ่มชาติพันธุ์ไท
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารตำหนัก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน) 2566


บทความนี้เป็นการรวบรวม และประมวล สรุปการวิเคราะห์ลักษณะรูปแบบและองค์ประกอบหลักของเรือนไตของชนชาติ ไต-ไท-ไทย จากการศึกษาของนักวิชาการไทยต่างๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2509 จนถึงปัจจุบัน ทั้งที่อยู่ในประเทศไทย และในเขตรอยต่อชายแดนรัฐฉานของพม่าต่อเนื่องไปถึงเมืองชายแดนเขตเตอหง ทางตะวันตก เขตมณฑลยูนนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน และข้อสังเกตของเรือนไต และเรือนจ้วง ของผู้เขียนจากประสบการณ์ดูงานวัฒนธรรมร่วมไทย-จีนที่ผ่านมา โดยแบ่งบทบทความออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ : ตอนที่ 1 เรือนไต–ไท–ไทย ที่มีในประเทศไทยและจีน รวมถึงการสรุปองค์ประกอบหลักของเรือนไต โดยเฉพาะเรือนไตที่อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ; ตอนที่ 2 เรือนจ้วง จากประสบการณ์การเดินทางดิงานวัฒนธรรมร่วมไทย-จีน ในเขตมณฑลยูนนาน และกวางสี และ ตอนที่ 3 ข้อสังเกตเชิงเปรียบเทียบเรือนไต กับ เรือนจ้วง ผ่านทางร่องรอยที่สื่อถึง “ความทรงจำร่วม” ในอดีตที่ปรากฏอยู่ใน “ที่พักอาศัยพื้นถิ่น” ชนชาติจ้วง–ไทย