งานวิจัยและบทความ
ทบทวนวัฒนธรรมเอกสารตัวเขียนไทยและลาว: มุมมองจากการค้นพบเอกสารในวัดชุดใหม่ในเมืองหลวงพระบาง
โดย Volker Grabowsky
เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024
จารึกและเอกสารโบราณ
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 107 No. 1 (2019)
ดาวน์โหลด
เดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 คณะผู้วิจัยจดหมายเหตุทางพุทธศาสนาในเมืองหลวงพระบางค้นพบเอกสารใบลานจำนวน 800 มัดในคลังของวัดสีบุนเฮือง เป็นวัดสำคัญหนึ่งในสิบสองแห่งของนครหลวงเดิมของลาว ในโครงการดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมเอกสารตัวเขียน เมืองฮัมบูรก์ (SFB950) คณะผู้วิจัยดำเนินการสำรวจ ขึ้นทะเบียน และแปลงไปสู่รูปแบบดิจิทัลตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 2017 หลักฐานระบุได้ว่ากลุ่มเนื้อหาทั้งชุดนั้น เดิมจัดเก็บไว้ในห้องสมุดของวัดหรือหอธรรมของวัดสีมุงคุน จนถึงในช่วงปลายทศวรรษ 1970 หรือต้นทศวรรษ 1980 เป็นอย่างช้า ในระยะเวลาดังกล่าวเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างรุนแรง และส่งผลให้เอกสารตัวเขียนถูกเคลื่อนย้ายมายังสถานที่จัดเก็บในปัจจุบัน ทั้งนี้ พระสงฆ์อาวุโสสองรูปของวัดสีมุงคุน ได้แก่ สมเด็ดรัดตะนะปันยา หรือ สาทุพ่อฮุง (ค.ศ. 1859-1945) และศิษย์ สาทุพ่ออุ่นเฮือนรัดตะนะปันยา (ค.ศ. 1869-1955) มีบทบาทสำคัญในการสร้างหอสมุดวัดสีมุงคุน ทั้งสองเป็นพระนักศึกษาที่มีบทบาทในการสร้างอาคารหลายหลังในวัด และสร้างเอกสารตัวเขียนใบลาย ในระยะทศวรรษ 1920 และ 1930 ชื่อของพระสงฆ์ทั้งสองรูปได้รับการบันทึกไว้ในส่วนข้อมูลการสร้างเอกสารตัวเขียน ในฐานะผู้สนับสนุนและผู้บริจาค วัตถุประสงค์ของบทความนี้ต้องการอธิบายกำเนิดของเอกสารตัวเขียนชุดนี้และประวัติที่เกี่ยวข้อง โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลการสร้างเอกสารตัวเขียนโดยละเอียด ทั้งผู้จาร ผู้สนับสนุน และผู้บริจาค รวมทั้งหลักฐานแวดล้อมอื่น