งานวิจัยและบทความ

อิทธิพลอินโด-เปอร์เซียในศิลปะ สถาปัตยกรรม และการออกแบบในยุคอยุธยาตอนปลาย

โดย จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์

เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024

สถาปัตยกรรม, ศิลปกรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 105 (2017)

ดาวน์โหลด

Indo-Persian Influence on Late Ayutthaya Art, Architecture, and Design


ชาวมุสลิมในอินเดียและเปอร์เซีย โดยทั่วไปเรียกมุสลิมอินโดอิหร่านหรืออินโดเปอร์เซีย มีความเชื่อมโยงกับสยามตั้งแต่ยุคอยุธยาตอนต้น ในสมัยสมเด็จเอกาทศรถ (ค.ศ. 1601-1610/11) ถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ค.ศ. 1956-1688) บทบาทของมุสลิมกลุ่มดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น จำนวนไม่น้อยที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานและทำการค้า บางส่วนมีบทบาทในราชสำนึกสยาม ด้วยความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง จึงมีการส่งคณะผู้แทนการทูตไปยังเปอร์เซีย (อิหร่าน) และโกลกอนดา การศึกษาบทบาทของมุสลิมอินโดเปอร์เซียมักให้ความสนใจกับอิทธิพลทางการค้าและการเมือง แต่กลับไม่ให้ความสำคัญถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรม

บทความนี้ต้องการอภิปรายถึงบทบาทของคนอินโดเปอร์เซียในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ที่ทำให้มีส่วนสำคัญในการพัฒนารูปแบบศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของในสยามในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในส่วนแรก เนื้อหาจะกล่าวถึงภูมิหลังของราชวงศ์ซาฟาวิดแห่งเปอร์เซีย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในจุดกำเนิดอิทธิพลวัฒนธรรมที่เข้าสู่สยามในช่วงศตวรรษที่ 17 จากนั้น บทบาทจะกล่าวถึงสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และวิจิตรศิลป์รวมถึงการออกแบบสิ่งทอ