งานวิจัยและบทความ

อัตลักษณ์อันขับเคี่ยว อิสลามและลักษณะชาติพันธุ์ในกรุงเทพดั้งเดิม

โดย Edward Van Roy

เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024

ประวัติศาสตร์, ชาติพันธุ์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ

วารสารสยามสมาคม Vol. 104 (2016)

ดาวน์โหลด

Contending Identities: Islam and Ethnicity in Old Bangkok


ประวัติศาสตร์ที่มีอายุมากกว่าศตวรรษครึ่งของ “กรุงเทพดั้งเดิม” (ค.ศ. 1767-1910) ปรากฏหมู่บ้านมุสลิมหกกลุ่มชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ ชาวอินเดีย ชาวจาม ชาวมาเลย์ และชาวอินโดนีเซีย ในเขตปริมณฑลของพระนคร บทความไล่เรียงประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนยี่สิบหกแห่งเพื่อสะท้อนพัฒนาการเมืองของกรุงเทพมหานคร สถานภาพและที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยสืบเนื่องจากการบริหารจัดการพื้นที่เมืองกรุงเทพฯ ตามเงื่อนไขทางการเมืองในการย้ายถิ่น อาชีพของแต่ละกลุ่มชาติพันธ์มีความสัมพันธ์กับความเชี่ยวชาญเฉพาะของแต่ละกลุ่มและจำเป็นต่อเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ แต่ละกลุ่มมักแยกตัวเพราะการพึ่งพิงกันภายในกลุ่มภายใต้นโยบายของสยามที่ประนีประนอม อย่างไรก็ดี แม้ความเปลี่ยนแปลงในภายหลัง ทั้งกระแสลัทธิชาตินิยมไทยและการฟื้นฟูอิสลามโลก บทบาทของหมู่บ้านที่เคยมีความสำคัญในกรุงเทพฯ ดั้งเดิมควรได้รับการพิจารณาอย่างถ่องแท้ เพราะหากย้อนไปพิจารณาพัฒนาการของเมืองในกรุงเทพดั้งเดิม จะช่วยให้เข้าใจถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แม้จะเป็นกลุ่มผู้นับถืออิสลามร่วมกัน