งานวิจัยและบทความ

กลุ่มคนที่ใช้ภาษาลาหู่ในพรมแดนยูนนาน-อินโดจีน: มรดกศาสนาสามประการและผลพวงจากการผสมกลมกลืน
โดย Anthony R. Walker
เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024
ปรัชญาและศาสนา, ความเชื่อ, ชาติพันธุ์
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 104 (2016)
ดาวน์โหลด
หลายศตวรรษ ชุมชนบนพื้นที่สูงในตระกูลทิเบต-พม่าที่ใช้ภาษาลาหู่ได้รับอิทธิพลหรือปรับตัวเข้ากับวิถีชีวิตตามแนวพุทธศาสนาทั้งเถรวาทและมหายาน กระนั้น ผู้สมาทานพุทธศาสนาในระดับที่แตกต่างกันนั้นไม่เคยละทิ้งความเชื่อวิญญาณในสรรพสิ่งอันเป็นความเชื่อดั้งเดิมโดยสมบูรณ์ ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 และยังคงปรากฏในปัจจุบัน การเผยแผ่คริสต์ศาสนาจากนิกายโปแตสแตนท์ในระยะแรก ต่อมาเป็นนิกายโรมันคาทอลิก ส่งอิทธิพลต่อชุมชนลาหู่ ซึ่งกระบวนการเผยแผ่ดังกล่าวเกิดขึ้นในทางตอนเหนือของประเทศไทย และค่อย ๆ แผ่อิทธิพลสู่ประเทศพม่า จีน และลาว สำหรับคริสต์ศาสนา การยอมรับในการผสมกลมกลืนระหว่างความเชื่อดั้งเดิมกับศรัทธาในศาสนาเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากกว่าพุทธศาสนา อย่างไรก็ดี ความเชื่อในวิญญาณในสรรพสิ่งคงหยั่งรากลึกในความเชื่อของคริสต์ชนคนลาหู่
บทความนี้อภิปรายลักษณะสำคัญของความเชื่อในวิญญาณในสรรพสิ่งอันเป็นฐานรากความเชื่อในกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ด้วยการสำรวจพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคนใช้ภาษาลาหู่กับพุทธศาสนาและศริสต์ศาสนา และชี้ให้เห็นว่า วัฒนธรรมศาสนาของคนลาหู่นั้นผสมผสานความเชื่อทั้งเก่าและใหม่ในจิตวิญญาณและความเชื่อ