งานวิจัยและบทความ

พระสรีรางคารของราชาธิราชในย่างกุ้งและสถูปบรรจุอัฐิของชาวมอญ
โดย Donald M. Stadtner
เผยแพร่เมื่อ 9 พฤษภาคม 2024
ประวัติศาสตร์, วัตถุวัฒนธรรม
แหล่งจัดเก็บทรัพยากรต้นฉบับ
วารสารสยามสมาคม Vol. 103 (2015)
ดาวน์โหลด
ในช่วงสิ้นสุดสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1852-1853) ซากปรักหักพังถูกรื้อถอนเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับการสร้างอาคารบริเวณเชิงเขา ซึ่งมีเจดีย์ชเวดากองประดิษฐานด้านบน สถูปองค์หนึ่งซึ่งบรรจุวัตถุเก้าชิ้น โดยมีวัตถุสำคัญคือโกศทองสามองค์ สายรัดที่มีบันทึกสลักด้วยอักษรบาลีสิบห้าแถว และภาชนะบรรจุพระสรีรางคารยี่สิบเอ็ดชิ้น สายรัดกล่าวถึงสมเด็จพระราชาธิราช กษัตริย์มอญ ที่ปกครองในช่วง ค.ศ. 1348 – 1420 โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่หงสาวดี เมื่อครั้งอดีต หรือที่เรียกว่า เมืองพะโค ในยุคหลัง ด้วยเหตุที่ว่ารัดประคดเพียงหนึ่งเดียวที่เชื่อมโยงกับกษัตริย์มอญ จึงนับเป็นหลักฐานจากพม่า (เมียนมาร์) ตอนล่างเพียงไม่กี่ชิ้นที่เหลือรอดจากศตวรรษที่ 14 และต้นศตวรรษที่ 15
อักษรภาษาบาลีที่จารบนสายรัดกล่าวถึงการบริจาคเพื่อเป็นพุทธบูชาในการถวายพระเพลิงพระบรมศพราชินีในสมเด็จพระราชาธิราช ส่วนพระสรีรางคารในภาชนะอาจเป็นของราชินี นี่เองแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นสถูปที่เกี่ยวเนื่องกับพระราชพิธีพระบรมศพ โกศทองสามองค์น่าจะผลิตจากพม่าตอนล่าง ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับโกสของศรีลังกา โกศที่นำเข้าจากศรีลังกาและอินเดียตะวันออกอาจส่งอิทธิพลในการออกแบบโกศที่พบในหลายวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงแบบของสถูปที่ก่อจากอิฐและหิน
การค้นพบโบราณวัตถุในครั้งนี้คือโอกาสสำคัญในการวิเคราะห์ถึงความสำคัญของอารยธรรมมอญและประเพณีพิธีศพในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงศตวรรษที่ 14 และ 15