สื่อมัลติมีเดีย

บทบาทของการอนุรักษ์มรดกทางชาติพันธุ์ในการปกป้องทรัพยากรน้ำบนที่ราบสูงลังเบียง

โดย Chí Hiếu Võ

เผยแพร่เมื่อ 12 พฤษภาคม 2024

การอนุรักษ์และสงวนรักษามรดกวัฒนธรรม, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ดำรงชีวิตอย่างสงบสุขสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ด้วยตระหนักดีว่าการดำรงชีพของตนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่ต้องเผชิญความยากลำบากในการดำรงชีพ โดยเฉพาะภายใต้บริบทของสังคมสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มชาติพันธุ์จึงมีแนวโน้มที่จะขายที่ดินในพื้นที่ต้นน้ำของที่ราบสูงลังเบียง (Langbiang Plateau) ให้กับบริษัทเอกชนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแลกกับเงินและความหวังที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ธุรกิจเอกชนกลับบุกรุกทำลายป่า ปลูกพืชในโรงเรือน และใช้ปุ๋ยเคมีทั้งชนิดน้ำและของแข็ง ซึ่งส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อต่อระบบนิเวศต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรกว่า 60 ล้านคน เพื่อฟื้นฟูและปกป้องทรัพยากรน้ำ จึงจำเป็นต้องลดการตัดไม้ทำลายป่าและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการสนับสนุนให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถรักษามรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้ได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การสร้างธุรกิจที่เอื้อให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถกลับมาใช้ชีวิตอย่างสงบสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ดังเช่นวิถีที่พวกเขายึดถือปฏิบัติมาหลายร้อยปี  เป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

The Southeast Asian Cultural Heritage Alliance (SEACHA)